สำนักราชบัณฑิตยสภา
53 ศศิ ธร ผู้กฤตยาคามี , ปริ มาส หาญบุญคุณูปการ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ • Salmonellosis เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิด Salmonella typhimurium และ S. enteritidis พบ ในอุจจาระหนู • Hantavirus infection โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส Hantavirus พบรายงานจากอเมริกา ถ่ายทอดโดย การสัมผัสสิ่งปนเปื้อน ปัสสาวะ หรือมูลของหนูที่มีเชื้อไวรัสนี้ • Lymphocytic choriomeningitis เกิดจากเชื้อไวรัส lymphocytic choriomeningitis virus ถ่ายทอดโดยการกินอาหารที่ปนเปื้อนปัสสาวะหรือมูลหนูที่มีเชื้อไวรัสนี้ • โรคพยาธิต่าง ๆ (parasitic diseases) เช่น โรคพยาธิตัวตืด Hymenolepis diminuta และ H. nana และพยาธิตัวกลม Angiostrongylus cantonensis น� ำโดยหมัดหนูหรือไรหนู • กาฬโรค (plague) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Yersinia pestis ถ่ายทอดมาสู่คนโดยการกัดของหมัดหนู • ไข้รากสาดหนู (murine typhus fever) เกิดจากเชื้อริกเก็ตเซีย Rickettsia typhi ที่ถ่ายออกมา กับมูลของหมัดหนู • ไข้พุพองไรหนู (rickettsialpox) เกิดจากเชื้อ Rickettsia akari ท� ำให้เกิดโรคในคนโดยการกัด ของไรหนู ไข้หนูกัด (rat-bite fever) กว่า ๒,๓๐๐ ปีก่อน ได้มีการกล่าวถึงรอยโรคทางผิวหนังซึ่งเกิดจากหนูกัด แต่ไม่ถึง ๑๐๐ ปีนี้ที่มี ผู้แยกเชื้อก่อโรคได้จากเลือดผู้ป่วยที่มีไข้หลังถูกหนูกัด ไข้หนูกัด คือ ไข้เฉียบพลันซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย แกรมลบจ� ำเพาะที่พบในหนูหรือสัตว์ฟันแทะ คือ เชื้อ Streptobacillus moniliformis และ Spirillum minus (รูปที่ ๑) การติดเชื้ออาจเกิดการจากถูกกัดหรือถูกขีดข่วนโดยหนูหรือสัตว์ที่ติดเชื้อ (รูปที่ ๒) หรือ การบริโภคนมหรือน�้ ำที่ปนเปื้อนปัสสาวะหนู ไข้หนูกัดจากเชื้อ S. moniliformis พบรายงานมากกว่าเชื้อ Spirillum minu s แต่ทั้งสองชนิดพบ ได้ทั่วโลก โดยเชื้อ S. moniliformis พบทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย และแอฟริกา ส� ำหรับไข้หนู กัดจากเชื้อ Spirillum minus พบน้อยกว่าและส่วนใหญ่พบในเอเชีย รูปที่ ๑ ภาพเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ Streptobacillus moniliformis และภาพเชื้อแบคทีเรีย Spirillum (www.microbiology.mtsinai.on.ca, www.microbe- wiki.kenyon.edu/index.php/Spirillum )
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=