สำนักราชบัณฑิตยสภา
The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 ไข้หนูกัด ศศิธร ผู้กฤตยาคามี ภาคีสมาชิก ส� ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน บริมาส หาญบุญคุณูปการ ภาควิชาอายุรศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล บทคัดย่อ ไข้หนูกัดเป็นกลุ่มโรคน� ำโดยสัตว์ที่พบยาก แต่พบได้ทั่วโลก เกิดจากเชื้อแบคทีเรียแกรม ลบที่พบในหนู ๒ ชนิด คือ Streptobacillus moniliformis และ Spirillum minus อาการทาง คลินิกมักประกอบด้วย ไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ อาเจียน มีผื่น และอาจปวดตามข้อ การวินิจฉัยอิง ประวัติการเจ็บป่วย อาการทางคลินิกและตรวจพบเชื้อทางจุลชีววิทยา ยา penicillin คือยารักษา ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยร้อยละ ๗-๑๐ อาจมีภาวะแทรกซ้อน และเสียชีวิต ค� ำส� ำคัญ : ไข้หนูกัด บทน� ำ หนูเป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการคู่กับมนุษย์มายาวนาน และจัดเป็นกลุ่มสัตว์ที่น� ำโรคสู่มนุษย์ หนูมี มากกว่า ๖๐-๗๐ สายพันธุ์ เข้าใจว่าหนูทุกชนิดมีโอกาสน� ำโรค แต่หนูที่ใกล้ชิดกับคนและเป็นพาหะของ โรคที่ส� ำคัญมีประมาณ ๓-๔ ชนิด ได้แก่ หนูบ้าน หนูหริ่ง หนูหลังคา และ หนูนอร์เวย์ หนูเป็นพาหะน� ำ โรคที่ส� ำคัญ ๆ มาสู่มนุษย์หลายชนิด ดังแสดงในตารางที่ ๑ น� ำโดยสารคัดหลั่งจากหนู ปัสสาวะ มูล หรือน�้ ำลายของหนู • ไข้หนูกัด (rat-bite fever) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิด Spirillum minus และ Streptobacillus moniliformis ซึ่งพบในช่องปากของหนู ถ่ายทอดสู่คนโดยการกัด • โรคฉี่หนูหรือโรคเลปโทสไปโรซิส (leptospirosis) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย spirochete พบใน ปัสสาวะหนู ตารางที่ ๑ โรคติดเชื้อส� ำคัญที่มีหนูเป็นพาหะ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=