สำนักราชบัณฑิตยสภา
วิ วั ฒนาการโทรศั พท์มื อถื อในช่วง ๒๐ ปีที่ ผ่านมา 48 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 ๓. ควรใช้อุปกรณ์หูฟังทุกครั้งที่ใช้โทรศัพท์ เพราะจะท� ำให้ได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าน้อยลง ๔. หลีกเลี่ยงการใช้ในเด็กอายุต�่ ำกว่า ๑๐ ขวบ เพราะคลื่นแม่เล็กไฟฟ้าจะผ่านกะโหลกศีรษะ ของเด็กเข้าสู่เยื่อสมองได้ลึกกว่าของผู้ใหญ่ ๕. หลีกเลี่ยงการใช้ในที่ที่มีสัญญาณคลื่นโทรศัพท์จากสถานีส่งต�่ ำ เพราะผู้ใช้จะได้รับปริมาณ คลื่นที่ส่งออกมาจากโทรศัพท์มือถือสูงกว่าปกติ ๖. หลีกเลี่ยงการใช้ในขณะขับรถ เพราะท� ำให้ขาดสมาธิ จะท� ำให้เกิดอุบัติเหตุได้ ๗. หลีกเลี่ยงการใช้ในขณะเติมน�้ ำมันรถยนต์ เพราะจะท� ำให้เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ได้ ๘. ควรปิดมือถือก่อนเข้าไปในบริเวณที่มีการรับจ่ายน�้ ำมันและก๊าซ และการขนย้ายเชื้อเพลิง หรือสารเคมี เด็กที่ใช้โทรศัพท์มือถือมีความเสี่ยงที่จะเป็นเนื้องอกในสมองชนิดร้ายแรงเพิ่มขึ้น ๕ เท่า ๑๑ อินดิเพนเดนต์ ๑๑ รายงานว่า เด็กและวัยรุ่นจากสวีเดนเสี่ยงเท่าที่จะเป็นเนื้องอกในสมองชนิด ร้ายแรงเพิ่มขึ้น ๕ จากการใช้โทรศัพท์มือถือ และเด็กจะมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ใหญ่เนื่องจากสมอง และระบบประสาทยังพัฒนาไม่เต็มที่ นอกจากนี้ ศีรษะของเด็กมีขนาดเล็กกว่าและกะโหลกบางกว่าของ ผู้ใหญ่ ท� ำให้คลื่นพลังงานจากโทรศัพท์มือถือสามารถทะลุทะลวงเข้าสู่สมองเด็กได้มากกว่า ศาสตราจารย์ เลนนาร์ต ฮาร์เดลล์ จากมหาวิทยาลัยฮอสปิตอล ในโอเรโบร ประเทศสวีเดน เสนอรายงานวิจัยต่อที่ประชุม ที่จัดโดย เรดิเอชัน รีเสิร์ช ทรัสต์ ว่า ผู้ใช้โทรศัพท์มือถืออายุน้อยกว่า ๒๐ ปี มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นถึง ๕ เท่า ที่จะเป็นเนื้องอกในสมองชนิดร้ายแรง (glioma) หรือ มะเร็งที่เกิดที่เซลล์ประสาทค�้ ำจุน โดยจะเป็นมะเร็ง ที่เซลล์ประสาท ซึ่งแม้ไม่เป็นอันตราย แต่การตัดเนื้องอกนี้จากเส้นประสาทอาจท� ำให้เกิดอาการหูตึงได้ ในทางกลับกัน คนที่ใช้โทรศัพท์มือถืออายุมากกว่า ๒๐ ปี มีโอกาสเป็นเนื้องอกในสมองชนิดร้ายแรงเพียง ร้อยละ ๕๐ เท่านั้น ดังนั้น เด็กอายุต�่ ำกว่า ๑๒ ปี ไม่ควรใช้โทรศัพท์มือถือ โทรศัพท์มือถือกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ๘ แบตเตอรี่ที่ใช้กับโทรศัพท์มือถือจะเป็นส่วนส� ำคัญที่ท� ำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม เนื่องจาก ประกอบด้วยสารอันตรายหลายชนิด มีอายุการใช้งานประมาณ ๑๒-๑๘ เดือน และก� ำลังจะเป็นปัญหา ที่น่ากลัวทั้งในปัจจุบันและอนาคต แบตเตอรี่ที่ใช้กับโทรศัพท์มือถือมี ๒ ชนิด คือ ชนิด NICAD (Nickel Cadmium Cells) และ Hydride (Nickel Metal Hydride Cells) สารประกอบที่ใช้ในแบตเตอรี่ชนิด แรกคือ NICAD จัดเป็นขยะอันตรายที่จะก่อโทษแก่สุขภาพของคน และเกิดภาวะมลพิษในสิ่งแวดล้อม ได้ เนื่องจากขั้วลบของถ่านชนิดนี้เป็นแคดเมียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งเมื่อประจุไฟฟ้าแล้วจะกลายสภาพ เป็นแคดเมียม ซึ่งเป็นสารก่อพิษในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลก แคดเมียมเป็นโลหะหนัก มีอยู่ในธรรมชาติ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=