สำนักราชบัณฑิตยสภา
45 เปี่ยมศั กดิ์ เมนะเศวต, สั นทั ด ศิ ริ อนั นต์ไพบูลย์, สมชั ย บวรกิ ตติ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ รับสัมปทานให้บริการระบบ NMT 900 จากบริษัท ทีโอที จ� ำกัด (มหาชน) ในชื่อ CELLULAR 900 (ปัจจุบันยกเลิกการให้บริการแล้ว) และรับสัมปทานให้บริการระบบ GSM ที่ความถี่ ๙๐๐ เมกะเฮิรตซ์ จากบริษัท ทีโอที จ� ำกัด (มหาชน) ในชื่อ GSM Advance และ One-2-Call และ GSM ที่ความถี่ ๑,๘๐๐ เมกะเฮิรตซ์ ในชื่อ GSM 1800 จากบริษัท กสท. โทรคมนาคม จ� ำกัด (มหาชน) (ผ่านการซื้อกิจการของ บริษัท ดิจิตอลโฟน จ� ำกัด ซึ่งเป็นโครงข่ายในชื่อการค้า Hello เดิม) ปัจจุบันเริ่มทดลองให้บริการ ระบบ ทรีจี ในโครงข่าย HSPA ความถี่ ๙๐๐ เมกะเฮิรตซ์ (ใช้ชื่อบริการว่า GSM Super 3 G) ในบางพื้นที่ของ กรุงเทพฯ และบางจังหวัด ๔. บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จ� ำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ปัจจุบันให้บริการเครือ ข่าย ๑ เครือข่าย คือ รับสัมปทานให้บริการระบบ AMPS 800 Bnad-B จากบริษัท กสท โทรคมนาคม จ� ำกัด (มหาชน)ในชื่อ Wordphone 800 (ปัจจุบันยกเลิกการให้บริการแล้ว) และรับสัมปทานให้บริการระบบ GSM ที่ความถี่ ๑,๘๐๐ เมกะเฮิรตซ์ จากบริษัท กสท. โทรคมนาคม จ� ำกัด (มหาชน) ในชื่อ Wordphone 1800 News ภายหลังเปลี่ยนเป็น DTAC และปัจจุบันเริ่มทดลองให้บริการทรีจีในโครงข่าย HSPA ความถี่ ๘๕๐ เมกะเฮิรตซ์ ในบริเวณอาคารจัตุรัสจามจุรี กรุงเทพฯ ๕. บริษัท ทรูมูฟ จ� ำกัด ให้บริการเครือข่าย ๑ เครือข่าย คือ รับสัมปทานให้บริการระบบ GSM ที่ความถี่ ๑,๘๐๐ เมกะเฮิรตซ์ จากบริษัท กสท. โทรคมนาคม จ� ำกัด (มหาชน) และปัจจุบันเริ่มทดลองให้บริการทรีจีในโครงข่าย HSPA ความถี่ ๘๕๐ เมกะเฮิรตซ์ ในบริเวณบางพื้นที่ของกรุงเทพฯ พัทยา เชียงใหม่ และภูเก็ต ๖. บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จ� ำกัด ให้บริการเครือข่าย ๑ เครือข่าย คือ รับสิทธิ์เป็นตัวแทนผู้ให้บริการด้านการตลาด โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ CDMA 2000 1x ใน พื้นที่กรุงเทพฯ และจังหวัดภาคกลาง ๒๕ จังหวัด จากบริษัท กสท. โทรคมนาคม จ� ำกัด (มหาชน) โดยใช้ ชื่อ ฮัทช์ (HUTCH) (กิจการ CDMA ขายให้บริษัททรูแล้ว แล้วจะโอนเข้าสู่ ระบบ HSPA ภายใน ๑ ปี ครึ่ง-๒ ปี) ๗. บริษัท ไทย โมบาย จ� ำกัด เป็นบริษัทที่ก่อตั้งโดยการลงทุนร่วมกันระหว่าง บริษัท ทีโอที จ� ำกัด (มหาชน) กับบริษัท กสท. โทรคมนาคม จ� ำกัด (มหาชน) เพื่อให้บริการระบบ GSM ที่ความถี่ ๑,๙๐๐ เมกะเฮิรตซ์ ในพื้นที่กรุงเทพฯ แต่ไม่ประสบความส� ำเร็จในการให้บริการ ต่อมาบริษัท ทีโอที จ� ำกัด (มหาชน) ได้ซื้อหุ้นจาก บริษัท กสท. โทรคมนาคม จ� ำกัด (มหาชน) ร้อยละ ๔๙ กลับมาทั้งหมด เพื่อต้องการให้ได้สิทธิ์ในการบริหารและสิทธิ์ การให้บริการ เพื่อน� ำความถี่ ๑,๙๐๐ เมกะเฮิรตซ์ มาพัฒนาเป็นระบบทรีจี (ปัจจุบันได้ให้บริการระบบ ทรีจีในความถี่นี้แล้ว และได้ยกเลิกระบบ GSM 1900 ในระบบ 2.75 G )
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=