สำนักราชบัณฑิตยสภา
43 เปี่ยมศั กดิ์ เมนะเศวต, สั นทั ด ศิ ริ อนั นต์ไพบูลย์, สมชั ย บวรกิ ตติ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ ๔.๑ PPC Phone Pocket PC พัฒนาโดยค่ายไมโครซอฟท์ ได้รับความนิยมมากในตลาด โทรศัพท์พีดีเอ มีผู้ใช้งานมาก ใช้งานง่าย คล้ายกับคอมพิวเตอร์ ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows CE นอก เหนือจากที่กล่าวมาแล้ว ยังสามารถแก้ไขและจัดการกับงานออฟฟิศเหมือนในคอมพิวเตอร์อย่าง Word, Excel ได้อย่างสมบูรณ์ ๔.๒ Palm Phone ใช้งานด้วยระบบปฏิบัติการ Palm OS พัฒนาโดยบริษัท Palm การใช้ งานในส่วนต่าง ๆ นั้นจะเหมือนการย่อมาจากพีดีเอ ภาพรวมของโทรศัพท์มือถือจาก Palm และมีจุดเด่น อยู่ที่คุณสมบัติการเป็นผู้เตรียมการที่ดี Palm OS นี้มีอยู่ในโทรศัพท์ของ Palm เอง ๕. โทรศัพท์มัลติมีเดีย เป็นโทรศัพท์ที่มีคุณสมบัติในการดูหนัง ฟังเพลง และทางด้านความ บันเทิงต่าง ๆ ในปัจจุบันได้รับความนิยมมาก สิ่งที่มักมาควบคู่กับโทรศัพท์มัลติมีเดียคือหน่วยความจ� ำ ต่าง ๆ เพื่อให้เพียงพอแก่การบันทึกไฟล์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพหรือเพลง ๖. โทรศัพท์มือถือติดกล้อง เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น คุณภาพของภาพถ่ายและความละเอียด ก็พัฒนาขึ้นไป นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มคุณสมบัติหลาย ๆ อย่างเข้าไปให้เปรียบเสมือนกล้องดิจิทัลทั่ว ๆ ไป รวมถึงการโอนถ่ายข้อมูลและการเพิ่มหน่วยความจ� ำแบบต่าง ๆ ท� ำให้การเก็บรูปมีเนื้อที่มากขึ้น เพื่อเพิ่ม ความสะดวกสบายในการใช้งาน ๗. โทรศัพท์แฟชั่น เป็นโทรศัพท์อีกประเภทหนึ่งที่ถือว่าได้รับความนิยมไม่แพ้โทรศัพท์ชนิดอื่น ๆ โดยทั่วไปจะถูกออกแบบมาฉีกแนว แปลกไปจากโทรศัพท์ทั่วไป ๘. โทรศัพท์รับส่งข้อความ มีอยู่ช่วงหนึ่งการส่งข้อความถือเป็นที่นิยมมาก ท� ำให้มีการพัฒนา โทรศัพท์ให้สามารถพิมพ์ข้อความส่งออกและรับข้อความได้ ๙. โทรศัพท์หรูหรา (High-End Phone) เป็นโทรศัพท์มือถือที่ออกแบบมาให้ดูหรูหรา การใช้ งานมักไม่ซับซ้อนเท่าใดนัก เน้นการออกแบบและวัสดุที่น� ำมาใช้ให้ดูทันสมัยและหรูหรา การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย ๖ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หรือ ทศท. (ชื่อในขณะนั้น) ได้เริ่มให้บริการ โทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยน� ำระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบนอร์ดิก (Nordic Mobile Telephone System, NMT) ซึ่งมีให้บริการในประเทศแถบสแกนดิเนเวียมาใช้ แต่ได้ปรับเปลี่ยนความถี่ในการน� ำมาให้บริการ จาก ๔๕๐ เมกะเฮิรตซ์ เป็น ๔๗๐ เมกะเฮิรตซ์ จึงเป็นที่มาของชื่อระบบ NMT 470 ซึ่งนับเป็นโทรศัพท์ เคลื่อนที่ระบบแรกของประเทศไทย ระยะแรกให้บริการในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดชายฝั่ง ด้านตะวันออก ก่อนขยายบริการไปทั่วประเทศในเวลาต่อมา เครื่องลูกข่ายของระบบ NMT 470 จะมี ลักษณะเป็นกระเป๋าหิ้ว มีน�้ ำหนักประมาณ ๑-๕ กิโลกรัม ยังไม่ได้มีลักษณะเป็นแบบมือถือเช่นปัจจุบัน ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ ทศท. ได้น� ำระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นก้าวหน้า (Advanced Mobile Phone
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=