สำนักราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ วิวัฒนาการโทรศัพท์มือถือในช่วง ๒๐ ปีที่ผ่านมา เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต ราชบัณฑิต ส� ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน สันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์ สายวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะพลังงาน สิ่งแวดล้อม และวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สมชัย บวรกิตติ ราชบัณฑิต ส� ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน บทคัดย่อ โทรศัพท์มือถือหรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการสื่อสารที่ พกพาไปในสถานที่ต่าง ๆ ได้ โทรศัพท์มือถือเครื่องแรกผลิตขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖ โดย บริษัทโมโต โรลา มีน�้ ำหนักถึง ๑.๑ กิโลกรัม และเป็นระบบแอนะล็อก ต่อมาได้พัฒนาเป็นระบบจีเอสเอ็ม ท� ำให้ โทรศัพท์มีขนาดเล็กลง และสามารถใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น เช่น การรับส่งข้อความ วีดิทัศน์ ดูหนัง ฟังเพลง ท� ำให้เป็นที่นิยมมากทั่วโลก ใน พ.ศ. ๒๕๕๒ มีประชาชนมากกว่า ๑.๔ พันล้านคนทั่วโลก พกพาโทรศัพท์มือถือ ตัวเลขผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั่วโลกสูงถึง ๔.๓ พันล้านคน ในประเทศไทย ผู้ใช้ โทรศัพท์มือถือมีมากถึง ๓๘.๒ ล้านคน ประชากรในกรุงเทพมหานครร้อยละ ๗๗.๓ ใช้โทรศัพท์มือ ถือ โดยร้อยละ ๔๑.๒ ใช้ส� ำหรับการรับส่งข้อมูลข่าวสาร มีข่าวออกมาเป็นระยะว่าการใช้โทรศัพท์ มือถืออาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพผู้ใช้ ค� ำส� ำคัญ : โทรศัพท์มือถือ บทน� ำ โทรศัพท์มือถือหรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีหลายคนเรียก วิทยุโทรศัพท์ คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้ในการสื่อสารสองทาง โดยใช้คลื่นวิทยุติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือผ่านสถานีฐาน เครือข่ายของ โทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการแต่ละแห่งจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายของโทรศัพท์บ้าน และเครือข่ายโทรศัพท์ มือถือของผู้ให้บริการแห่งอื่น ๑ โทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องแรกได้รับการผลิตและออกแสดงใน พ.ศ. ๒๕๑๖ โดย มาร์ติน คูเปอร์ นักประดิษฐ์ของบริษัทโมโตโรลา มีน�้ ำหนักประมาณ ๑.๑ กิโลกรัม หลังจากนั้นการ พัฒนาทางด้านเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ หรือ ๒๐ ปีที่แล้ว เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ Global System for Mobile Communications (GSM) ได้เปิดให้บริการในเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรกของโลก ๒ ระบบ GSM ถือเป็นมาตรฐานเครือข่าย

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=