สำนักราชบัณฑิตยสภา
37 สั นทั ด ศิ ริ อนั นต์ไพบูลย์ และคณะ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ cial responsibility: CSR) ๑๙ มาใช้ควบคู่ไปกับการด� ำเนินธุรกิจก็จะลดความขัดแย้งในสังคมลง นอกจาก ความรับผิดชอบของแต่ละภาคส่วนที่จะต้องด� ำเนินการในขอบเขตและหน้าที่ของตนอย่างมีประสิทธิภาพ แล้ว การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการก� ำหนดและเลือกแนวทางอย่างเสมอภาคบนพื้นฐานของความ รับผิดชอบต่อส่วนร่วมที่ปราศจากอคติ ดังแสดงในรูปที่ ๗ เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติ กล่าวคือ การจะด� ำเนิน ธุรกิจอย่างยั่งยืนนั้น ต้องค� ำนึงถึงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ควบคู่กัน ภาคส่วนหลักที่มี ส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงคือ ภาครัฐที่มีอ� ำนาจในการบังคับใช้กฎหมาย คุมนโยบาย และเป็นหน่วยงานอนุมัติ/ อนุญาต ผู้ประกอบการคือโรงไฟฟ้าที่มักจะค� ำนึงถึงความอยู่รอดของธุรกิจที่ด� ำเนินการ ประชาชนซึ่งมัก จะได้รับผลกระทบทั้งทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การด� ำเนินธุรกิจให้เกิดความยั่งยืนดังกล่าวข้าง ต้น ทุกภาคส่วนควรเพิ่มน�้ ำหนัก การให้ความสนใจในเรื่องอื่น ๆ ที่นอกจากส่วนที่ตนเองรับผิดชอบโดยตรง เพิ่มเติม เช่น ผู้ประกอบการอาจจะต้องหันมามองในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและสังคมมากขึ้น เพื่อให้เกิดความ ยอมรับจากภาคประชาชนมากขึ้น ส่วนภาครัฐควรจะมองในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและสังคมมากขึ้นในเรื่อง ของการวางนโยบาย การสร้างโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสุขอย่างเป็น ระบบ การบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม การวางแผนแม่บทอย่างเสมอภาค กล่าวคือการสร้างระบบให้ ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการเลือกการด� ำเนินชีวิต การพัฒนาประเทศทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่ง จะสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๖๗ ส่วนภาคประชาชนควรจะ ได้ทราบและเข้าใจในเรื่องการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างถ่องแท้ ซึ่งในส่วนนี้ องค์กรเอกชน และนักวิชาการจะมีส่วนอย่างมากที่จะท� ำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงและเป็นแหล่งข้อมูลเพื่อให้ภาคประชาชนได้ ใช้ในการตัดสินใจ ดังนั้น องค์กรเอกชนและนักวิชาการควรจะมีความเป็นกลางอย่างแท้จริง ปราศจาก มายาคติและผลประโยชน์ทับซ้อน หากเป็นเช่นนี้ ก็เชื่อว่าสังคมสามารถด� ำเนินไปได้อย่างมีเสถียรภาพ และปราศจากความขัดแย้ง รูปที่ ๗ ความเกี่ยวโยงของภาคส่วนต่าง ๆ ต่อการด� ำเนินธุรกิจแบบยั่งยืนเพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและสังคม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=