สำนักราชบัณฑิตยสภา
ถ่านหิ นกั บการผลิ ตไฟฟ้าในประเทศไทย 36 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 ที่ควรจะพิจารณาประกอบในฐานะที่เป็นนักวิชาการ คือ ประเทศเดนมาร์กมีประชากรเพียง ๕ ล้านคน เท่านั้น การบริโภคพลังงานจึงไม่สูงนัก ดังนั้น การเลือกหรือเปลี่ยนแหล่งพลังงานจึงเป็นเรื่องที่สามารถ กระท� ำได้ไม่ยากนัก การน� ำวิธีการหรือแนวทางของประเทศเดนมาร์กมาใช้กับประเทศไทยที่มีขนาดใหญ่กว่าถึง ๑๒ เท่า ในส่วนของจ� ำนวนประชากร คงต้องน� ำปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายด้านมาประกอบการพิจารณา เช่น ความเป็นไปได้ในเชิงของแหล่งพลังงานทดแทน ปริมาณของพลังงานทดแทน ความเสถียรของแหล่ง พลังงานทดแทน สภาพภูมิประเทศ ตลอดจนราคาของแหล่งพลังงานนั้นที่จะน� ำมาทดแทน ซึ่งน่าจะ เป็นหน้าที่ของนักวิชาการในการศึกษาถึงปัจจัยต่าง ๆ ข้างต้นประกอบก่อนจะสรุปหรือชี้แนะสังคมหรือ ประชาชน ข้อมูลต่าง ๆ ทั้งด้านบวกและด้านลบควรมีการส่งผ่านอย่างครบถ้วนและเป็นจริงจากนักวิชาการ หรือผู้รู้สู่ทุกภาคส่วน ไม่เฉพาะแต่ภาคประชาชน โดยน� ำเสนอทั้งด้านบวกและด้านลบอย่างมีคุณธรรม และจริยธรรม ปราศจากมายาคติ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความส� ำคัญอย่างยิ่ง นอกจากนี้ความมุ่งมั่นของภาครัฐ ก็มีความส� ำคัญ กล่าวคือ รัฐบาลคงปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ว่า จะต้องมีส่วนส� ำคัญในการขับเคลื่อน แนวทางการใช้พลังงานของประเทศ การกระจายความเสี่ยงในการใช้พลังงานจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อให้ เกิดความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจและพลังงานของประเทศวบคู่ไปกับการส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยี ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งทางด้านการใช้แหล่งพลังงานชนิดต่าง ๆ การป้องกันและบ� ำบัดมลพิษที่เกิดขึ้น การ ก� ำหนดสัดส่วนของแหล่งพลังงานที่จะใช้ในแต่ละภาคส่วน ตัวอย่างเช่น การผลิตกระแสไฟฟ้าจะใช้ถ่านหิน แก๊สธรรมชาติ พลังงานลม พลังงานน�้ ำ และพลังงานชีวมวล ในอัตราส่วนเท่าใด ๕ แหล่งพลังงานในส่วน ของการขนส่งจะมีอัตราส่วนของแก๊สธรรมชาติ น�้ ำมันปิโตรเลียม และแกโซฮอลเป็นอย่างไร รวมถึงมีการ ส่งเสริมและมาตรการในการควบคุมและป้องกันมลพิษที่จะเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินในปัจจุบันนั้นพัฒนาไปมาก ทั้งที่เป็นการ ท� ำให้ถ่านหินอยู่ในรูปของของเหลวและแก๊ส เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดมลพิษที่อาจเกิดขึ้นจากการ ใช้ถ่านหิน รวมถึงเทคโนโลยีในการควบคุมและก� ำจัดมลพิษที่มีประสิทธิภาพสูง จะเห็นได้จากตัวอย่าง โรงไฟฟ้าถ่านหินในหลายประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตชุมชน เช่น ในประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ดังนั้น ภาครัฐควรให้ความสนใจและก� ำหนดมาตรฐานของโรงไฟฟ้าที่จะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยอาจน� ำเอาทฤษฎีที่ว่าผู้ก่อมลพิษจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการแก้ไข หรือบ� ำบัดมลพิษนั้น ๆ (polluter pay principle) ๑๘ ส่วนสุดท้ายคือ ผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้า ดังได้กล่าวข้างต้น เทคโนโลยีการผลิต ไฟฟ้าจากถ่านหินในปัจจุบันนั้นได้พัฒนาไปถึงขั้นเทคโนโลยีสะอาด (clean technology) ๑๐,๑๒ แล้ว และยัง พัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น หากผู้ประกอบการมีจิตส� ำนึกที่ดี มีจริยธรรมและคุณธรรม ค� ำนึงถึงประโยชน์ ส่วนรวมควบคู่ไปกับประโยชน์ส่วนตน การน� ำเอาหลักการของความรับผิดชอบต่อสังคม (corporate so-
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=