สำนักราชบัณฑิตยสภา
35 สั นทั ด ศิ ริ อนั นต์ไพบูลย์ และคณะ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ อย่างถูกต้องและเป็นกลางโดยปราศจากมายาคติ อาจกล่าวได้ว่านักวิชาการควรท� ำหน้าเป็นพี่เลี้ยงในการ ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและรอบด้าน วิเคราะห์และชี้ประเด็นทั้งด้านบวกและด้านลบที่ชัดเจนบนพื้นฐานของ ข้อมูลที่สามารถอ้างอิงได้ทางวิชาการโดยปราศจากมายาคติ หรือเลือกข้าง เพื่อให้ภาคประชาชนได้ตัดสิน ใจอย่างถูกต้อง ข้อเสนอแนะข้างต้นนั้นมีตัวอย่างสนับสนุน เช่น การให้ความเห็นของนักวิชาการบางคน ที่มักกล่าวอ้างถึงข้อมูลในต่างประเทศบ้าง การน� ำเสนอตัวอย่างในต่างประเทศบ้าง ซึ่งไม่ได้ผิดอะไร ถ้าได้น� ำเสนออย่างรอบด้านและครบถ้วน แต่หากเลือกเฉพาะบางประเด็นเท่านั้นเพื่อให้มีข้อสรุปตาม ที่นักวิชาการบางคนต้องการ จะเป็นอันตรายอย่างมาก และจะไม่เป็นธรรมต่อสังคมและทุกภาคส่วน ทั้ง ยังจะสร้างความขัดแย้งในสังคมอีกด้วย มีหลายกรณีที่เกิดขึ้นในประเทศเกี่ยวกับการคัดค้านโรงไฟฟ้า ถ่านหิน โดยอ้างถึงเหตุการณ์ในอดีตกรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ หรือการกล่าวอ้างถึงโรคที่เกิดจากการ ใช้ถ่านหินในต่างประเทศ การกล่าวอ้างถึงการรณรงค์ให้เลิกใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าในบางประเทศ แถบตะวันตก การกล่าวอ้างโดยไม่ได้ให้ข้อมูลที่ครบถ้วนและรอบด้าน อาจสร้างความสับสนในเชิงวิชาการ ไม่เฉพาะแก่ภาคประชาชน ยังอาจรวมไปถึงองค์กรเอกชนได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนในอดีตที่กล่าว แล้วข้างต้นคือ กรณีโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ได้มีการสืบค้นและวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาดังกล่าวได้อย่าง ครบถ้วน สาเหตุของปัญหาอาจสรุปได้เป็นสาเหตุหลัก ๓ ประการ คือ ๑. วัตถุดิบ ถ่านหินที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้านั้นมีคุณภาพค่อนข้างต�่ ำ คือ เป็นถ่านหินชนิดลิกไนต์ ซึ่งมีปริมาณซัลเฟอร์ค่อนข้างสูง ๒. เทคโนโลยีในการผลิตกระแสไฟฟ้าจากถ่านหินในขณะนั้นประสิทธิภาพยังไม่สูง จึงก่อให้เกิด มลพิษสูง ๓. ระบบบ� ำบัดมลพิษของโรงไฟฟ้าในระยะแรกไม่ได้มีการด� ำเนินการ ส่งผลให้มลพิษที่เกิดขึ้น ถูกปล่อยออกจากโรงไฟฟ้าโดยไม่ได้บ� ำบัด หากได้มีการส่งต่อข้อมูลเหล่านั้นให้ทุกภาคส่วนได้ทราบ เพื่อใช้เป็นบทเรียนในการป้องกันมิให้ เกิดปัญหาเหล่านั้นอีกในอนาคต ก็จะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและประเทศชาติ และหน้าที่ดังกล่าวควร เป็นของนักวิชาการที่จะต้องให้ความรู้และความเข้าใจ รวมทั้งเสนอทางเลือกในการแก้ไขและป้องกัน ส่วนในกรณีที่มักมีการกล่าวอ้างว่าประเทศในแถบตะวันตกมีการรณรงค์ลดการใช้ถ่านหิน ก็เป็นตัวอย่างอีกตัวอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการให้ข้อมูลเพียงด้านเดียวหรือไม่รอบด้าน เช่น ค� ำกล่าวที่ว่า ประเทศเยอรมนีมีการรณรงค์ให้ใช้เทคโนโลยีสะอาดในการผลิตไฟฟ้า หากพูดเพียงสั้น ๆ เท่านี้อาจท� ำให้ เกิดความเข้าใจผิดว่า ประเทศเยอรมนีมีการลดหรือเลิกใช้ถ่านหิน แต่โดยความเป็นจริงประเทศเยอรมนี มีการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินถึงร้อยละ ๘๐ ของปริมาณการผลิตทั้งหมด หรือแม้แต่มีการกล่าวอ้างจาก นักวิชาการว่า ประเทศเดนมาร์กที่มีการรณรงค์ให้มีการใช้พลังงานทดแทน (renewable energy) แทน การใช้พลังงานจากน�้ ำมันปิโตรเลียมหรือแก๊สธรรมชาติก็ตาม ค� ำกล่าวดังกล่าวไม่ผิด แต่ประเด็นที่ส� ำคัญ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=