สำนักราชบัณฑิตยสภา
ถ่านหิ นกั บการผลิ ตไฟฟ้าในประเทศไทย 34 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 นักวิชาการจากภาครัฐและสถาบันอุดมศึกษา องค์กรเอกชน กลุ่มนักอนุรักษ์นิยม คณะกรรมการสิทธิ มนุษยชน คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สื่อมวลชน ชุมชนที่อยู่ที่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากบุคคลในแต่ละกลุ่มจะมีหน้าที่รับผิดชอบต่อสังคมรวมถึงพันธกิจ ที่แตกต่างกัน อนึ่ง ปัญหาความไม่ยอมรับและความไม่เชื่อถือของภาคประชาชนที่มีต่อภาครัฐและผู้ประกอบ การโรงไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน ถือว่าเป็นปัญหาส� ำคัญที่ควรต้องได้รับการแก้ไขก่อน มิ ฉะนั้นจะไม่สามารถด� ำเนินการหรือริเริ่มโครงการใหม่ ๆ หรือขยายก� ำลังผลิตโรงไฟฟ้าถ่านหินได้ เพราะ ประสบการณ์ในอดีตของประชาชนที่มีต่อโรงไฟฟ้าแม่เมาะในเชิงลบ ๑๕ ดังนั้น การสร้างความเข้าใจถึง เรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตเกี่ยวกับถ่านหินและโรงไฟฟ้าถ่านหินด้วยความจริงใจโดยภาครัฐ ผู้การประกอบการ โรงไฟฟ้าถ่านหิน และนักวิชาการจึงเป็นสิ่งส� ำคัญ การให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ โดยตรงเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน การอธิบายถึงความส� ำคัญและความจ� ำเป็นในการใช้ถ่านหิน เทคโนโลยี ต่าง ๆ ที่จะถูกน� ำมาใช้กับโรงไฟฟ้าถ่านหิน และความก้าวหน้าทางวิชาการเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าถ่านหินก็เป็น สิ่งส� ำคัญ หากประชาชนได้เข้าใจถึงปัญหาต่าง ๆ ในอดีต ข้อจ� ำกัดต่าง ๆ ในอดีต และเทคโนโลยีการผลิต ไฟฟ้าในอดีตและปัจจุบัน รวมถึงความจ� ำเป็นของการใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้า ก็น่าจะท� ำให้ความขัด แย้งที่เกิดขึ้นในอดีตลดลงได้ ดังมีตัวอย่างที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ เช่น ประเทศเยอรมนี รัฐบาลมีความ เข้มแข็งในเรื่องการพัฒนาและการใช้แหล่งพลังงานต่าง ๆ รวมถึงการให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องของพลังงาน ในประเทศ โดยเฉพาะความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานต่าง ๆ ความจ� ำเป็น ในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน เทคโนโลยีในการควบคุมและ ป้องกันมลพิษที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตไฟฟ้า หลังจากได้ด� ำเนินการในส่วนต่าง ๆ ที่กล่าวข้างต้นแล้ว รัฐบาลได้ส� ำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าถ่านหินพบว่า ประชาชนในประเทศเยอรมนี มากกว่าร้อยละ ๘๐ สนับสนุนอุตสาหกรรมถ่านหิน และยินยอมให้มีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ๑๗ จากข้อมูล ข้างต้นจะเห็นได้ว่า การให้ข้อมูลที่รอบด้านแก่ประชาชน โดยเฉพาะประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรง จึงมีความส� ำคัญอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่ภาคประชาชนได้รับมิได้มาจากภาครัฐหรือผู้ประกอบการ เพียงฝ่ายเดียว ยังอาจได้รับจากนักวิชาการและองค์กรเอกชนต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็นข้อมูลในอีกด้านหนึ่งที่ แตกต่างจากข้อมูลของภาครัฐและผู้ประกอบการ ดังนั้น การวิเคราะห์และการให้น�้ ำหนักข้อมูลจากกลุ่ม ต่าง ๆ ข้างต้นโดยภาคประชาชนเพื่อการตัดสินใจจึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความส� ำคัญ และคงเป็นเรื่อง ยากที่จะให้เป็นหน้าที่ของภาคประชาชนในการวิเคราะห์และให้ความส� ำคัญของข้อมูลที่ได้รับจากภาคส่วน ต่าง ๆ เพื่อตัดสินใจ ความเห็นของผู้เขียนในเรื่องนี้ยังคงให้ความส� ำคัญที่นักวิชาการ ว่าควรจะเป็นที่พึ่ง ของภาคประชาชน เนื่องจากนักวิชาการเป็นผู้รู้และโดยจรรยาบรรณของนักวิชาการที่จะเป็นผู้ให้ข้อมูล ทางวิชาการที่เป็นกลางและรอบด้านโดยไม่สังกัดและอยู่ข้างใดข้างหนึ่ง โดยต้องให้ข้อมูลแก่ประชาชนได้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=