สำนักราชบัณฑิตยสภา
33 สั นทั ด ศิ ริ อนั นต์ไพบูลย์ และคณะ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ การสร้างความเชื่อมั่น ๑,๑๕,๑๖ ประสบการณ์ในอดีตที่เกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้าถ่านหินได้ท� ำให้เกิดความไม่ยอมรับและขาดความ เชื่อมั่นซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะภาคประชาชน (ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ) กับภาครัฐ (หน่วยงานก� ำกับ ดูแลเกี่ยวกับกิจการพลังงาน หน่วยงานดูแลทางด้านสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานอนุมัติ/อนุญาต เป็นต้น) และผู้ประกอบการคือโรงไฟฟ้า ๑๕ ต้องยอมรับว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากความไม่ ตระหนักและการขาดความรับผิดชอบของภาครัฐและผู้ประกอบการ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของความรู้ความ เข้าใจและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รวมถึงหน้าที่รับผิดชอบ โดยที่ผู้มีส่วนร่วมและได้รับผลกระทบ ทั้งทางตรงและทางอ้อมสามารถจัดได้เป็น ๕ กลุ่ม คือ ประชาชนหรือชุมชนที่ได้รับผลกระทบ ภาครัฐ ผู้ประกอบการ องค์กรเอกชน และนักวิชาการ แต่ละกลุ่มจะมีหน้าที่รับผิดชอบในสังคมที่แตกต่างกัน ตามพันธกิจและการมีส่วนร่วม รวมถึงได้รับผลกระทบจากโครงการหรือกิจกรรมที่แตกต่างกัน ดังแสดง ในรูปที่ ๗ ปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมในอดีตมักมีสาเหตุมาจากการขาดความมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรง การขาดข้อมูลหรือได้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องครบถ้วน เพื่อ ใช้ในการตัดสินใจหรือการแสดงความคิดเห็น การแสดงบทบาทและหน้าที่ของแต่ละกลุ่มหรือภาคส่วนที่ ไม่ตรงกับพันธกิจหรือการมีส่วนร่วม ดังจะเห็นได้จากกรณีของโรงไฟฟ้าแม่เมาะในอดีต ซึ่งเป็นบทเรียนที่ ส� ำคัญ ๑๓,๑๕ และสามารถใช้เป็นแนวทางในการป้องกันปัญหาต่าง ๆ ในอนาคต กล่าวคือ การศึกษาข้อมูล ต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงการให้ถ่องแท้ เช่น ถ่านหินมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียให้กระจ่างชัด (balance score card) เพราะปัญหาของโรงไฟฟ้าแม่เมาะในอดีตนั้น เกิดจากการใช้ถ่านหินชนิดลิกไนต์จาก เหมืองถ่านหินแม่เมาะ จังหวัดล� ำปาง ซึ่งมีคุณภาพต�่ ำ มีปริมาณซัลเฟอร์ค่อนข้างสูง รวมถึงระบบป้องกัน และบ� ำบัดมลพิษของโรงไฟฟ้าในระยะแรกยังไม่สมบูรณ์ การบริหารจัดการโรงไฟฟ้าในระยะแรกยังไม่เป็น มาตรฐานและไม่เป็นระบบ ๑๑,๑๓ ประเด็นปัญหาต่าง ๆ ที่กล่าวข้างต้นควรได้รับการถ่ายทอดไปยังทุกภาค ส่วนเพื่อใช้เป็นบทเรียนและข้อควรระวัง เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นอีกในอนาคต หากจะมีการ ริเริ่มโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินก็ควรสร้างความเข้าใจกับทุกภาคส่วนเกี่ยวกับโครงการ เช่น ประเภทของ ถ่านหิน โดยต้องให้ข้อมูลเพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้าใจว่า ถ่านหินมีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีลักษณะสมบัติ แตกต่างกันอย่างไร ๓ และถ่านหินที่น� ำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าในอดีตนั้นเป็นประเภทใด ๑,๓,๔ และหากมีการ ผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินในอนาคต จะใช้ถ่านหินชนิดใด ๓,๔ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพระดับใด ควรมีมาตรการและระบบก� ำจัดมลพิษประเภทใด ๑๐,๑๑,๑๒ รวมถึงความหน้าทางวิชาการในส่วนของ กระบวนการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน ๕,๑๓ นอกจากนี้ ข้อมูลที่น� ำเสนอแก่แต่ละภาคส่วนหรือแต่ละกลุ่ม เป้าหมายนั้น จะต้องมีความเสมอภาครอบด้าน ตรงกับความต้องการและหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละกลุ่ม และ เป็นข้อมูลที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงที่สามารถพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มคนที่เข้ามาเกี่ยวข้อง มีมากมาย แต่ละกลุ่มก็จะมีหน้าที่รับผิดชอบแตกต่างกัน โดยอาจแบ่งได้เป็น ผู้เชี่ยวชาญ ผู้คุมนโยบาย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=