สำนักราชบัณฑิตยสภา
ถ่านหิ นกั บการผลิ ตไฟฟ้าในประเทศไทย 32 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 นอกจากนี้ยังมีกรณีความล้มเหลวของโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินบ่อนอกและหินกรูด จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ โครงการฯ ดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนขออนุมัติจากภาครัฐ เพื่อจะด� ำเนินการในการก่อสร้าง โรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด ๗๐๐ เมกะวัตต์ จ� ำนวน ๒ หน่วย โดยใช้ถ่านหินบิทูมินัสที่น� ำเข้าจากประเทศ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และแอฟริกาใต้ จ� ำนวน ๓.๘๕ ล้านตันต่อปี ซึ่งควรจะเริ่มด� ำเนินการผลิตเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ และ พ.ศ. ๒๕๔๖ แต่เนื่องจากโครงการฯ ดังกล่าวจะส่งผลกระทบค่อนข้างรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นกฎหมายในขณะนั้นได้บังคับให้เจ้าของโครงการต้องจัดท� ำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อเสนอต่อส� ำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) รายงาน EIA ของโครงการได้ผ่านการเห็นชอบโดยคณะผู้ช� ำนาญการของ สผ. ในขณะนั้นเรียบร้อยแล้ว แต่ได้รับการ ต่อต้านจากชุมชน องค์กรเอกชน (non-government organization: NGO) และนักวิชาการบางกลุ่ม การ ต่อต้านรุนแรงมาก รัฐบาลไม่สามารถจัดการกับเรื่องดังกล่าวได้ ผู้ประกอบการ (ผู้ลงทุน) หาที่พึ่งไม่ได้ โครงการต้องถูกท� ำให้ล่าช้าออกไป และย้ายสถานที่ก่อสร้างไปสู่ที่ใหม่ ความล้มเหลวของโครงการดังกล่าว อาจสรุปได้ว่า เป็นเพราะประชาชนที่ได้รับผลกระทบไม่ได้ทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน ตั้งแต่ต้น และไม่สามารถอธิบายความจ� ำเป็นของการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินอย่างเป็นรูปธรรมให้กลุ่ม ต่าง ๆ โดยเฉพาะประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ส่งผลให้มีการคัดค้านจากประชาชนที่ได้รับผล กระทบ และมีกลุ่มองค์กรเอกชนทั้งในและต่างประเทศ คือ องค์กรเอกชน และ Green peace ได้เข้าร่วม คัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินดังกล่าวด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลกที่กลุ่มองค์กรเอกชนต่างประเทศ ที่มาร่วมคัดค้านนั้นมาจากประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งยังมีการใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าเป็นหลักและเพิ่มขึ้น ทุกปี เช่น สหรัฐอเมริกา จีน เยอรมนี ออสเตรเลีย เดนมาร์ก ๘ หากวิเคราะห์ถึงสาเหตุของความล้มเหลวของโครงการดังกล่าวในอดีต และหากต้องการจะ ริเริ่มโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในอนาคต โครงการดังกล่าวควรให้ความส� ำคัญในเรื่องของผลกระทบทาง ด้านสังคมและสุขภาพ และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการแสดงความเห็นและตัดสินใจ ควบคู่ไป กับผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม ภาคส่วนที่ควรให้ความส� ำคัญเป็นอันดับแรกคือ ประชาชนที่ได้รับ ผลกระทบ และควรที่จะได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับโครงการ เช่น ความเข้าใจเรื่องคุณภาพ ของถ่านหินที่ใช้ในโครงการ เทคโนโลยีที่ใช้ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ว่าแตกต่างจากกรณี ถ่านหินของโรงไฟฟ้าแม่เมาะอย่างไร ข้อมูลเหล่านั้นจะต้องอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องรอบด้าน สามารถพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ตั้งแต่ต้น และไม่สามารถอธิบายความจ� ำเป็นของการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน กระบวนการดังกล่าวหากได้ ด� ำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๖๗ วรรค ๒ (แต่ในขณะนั้นยังไม่มี) ก็จะท� ำให้ได้ความเห็นประกอบที่สร้างความเข้าใจและลดความเสี่ยงที่จะมีผลต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพได้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=