สำนักราชบัณฑิตยสภา

31 สั นทั ด ศิ ริ อนั นต์ไพบูลย์ และคณะ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ ถูกน� ำมาท� ำให้สะอาดโดยการก� ำจัดมลพิษก่อน แก๊สที่ได้นี้สามารถน� ำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือเป็น สารตั้งต้นในการสังเคราะห์แอมโมเนีย เมทานอล หรือแก๊สไฮโดรเจน และกระบวนการ coal liquefaction technology เป็นการแปรรูปถ่านหินให้อยู่ในรูปเชื้อเพลิงเหลว นอกจากนี้ ยังมีการใช้เทคโนโลยีสังเคราะห์ เชื้อเพลิงสะอาด dimethyl ether (DME ) เป็นการใช้ถ่านหินอีกรูปแบบหนึ่งที่สะอาดประหยัด และมีสมบัติ เปรียบเสมือนแก๊สปิโตรเลียมเหลวหรือแอลพีจี (liquefied petroleum gas) ๓. เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดหลังการเผาไหม้ (post-combustion) ๑๐,๑๒ เป็นเทคโนโลยีการ พัฒนาระบบดักจับสารมลพิษและฝุ่นละอองที่ออกจากกระบวนการเผาไหม้ ก่อนปล่อยแก๊สออกสู่ปล่อง เพื่อระบายสู่บรรยากาศโดยปราศจากมลพิษ เทคโนโลยีการจับแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO x ) ออกจาก แก๊สที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ หรือจากแก๊สเชื้อเพลิงที่เกิดจากกระบวนผลิต ก่อนปล่อยออกสู่บรรยากาศ เรียกกระบวนการนี้ว่า fuel gas desulfurization (FGD) โดยการท� ำปฏิกิริยาระหว่างแก๊สเชื้อเพลิงกับน�้ ำ ปูนหรือหินปูน ทั้งในรูปของการฉีดพ่นฝอยหรือใส่เข้าไปเป็นของเหลว ปฏิกิริยาดังกล่าวจะเกิดซัลเฟตหรือ ซัลไฟต์ขึ้นเป็นของแข็ง คือ ยิปซัมสังเคราะห์ (synthetic gypsum) สามารถน� ำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น ถมที่ หรือท� ำแผ่นยิปซัม วิธีการนี้สามารถลดซัลเฟอร์ได้ร้อยละ ๘๐-๙๐ ๑๐ แต่ไม่สามารถลดปริมาณออกไซด์ของ ไนโตรเจนได้ แต่จะมีเทคโนโลยีในการลดปริมาณออกไซด์ของไนโตรเจนโดยใช้วิธีการลดปริมาณออกไซด์ ของไนโตรเจนจากแหล่งก� ำเนิด โดยการพัฒนากระบวนการเผาไหม้ที่มีประสิทธิภาพสูง และเกิดออกไซด์ ของไนโตรเจนในปริมาณต�่ ำ นอกจากนี้ยังมีระบบก� ำจัดของเสียที่เกิดจากระบบก� ำจัดมลพิษข้างต้น คือ ออกไซด์ของซัลเฟอร์ (scrubber) อีกด้วย ๑๐,๑๒ ความยอมรับในการใช้ถ่านหินในการผลิตกระแสไฟฟ้า ๑๓,๑๔,๑๕ เนื่องจากบทเรียนในอดีตที่มีต่อโรงผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ จังหวัดล� ำปาง ๑๓ ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าชนิดพลังความร้อน (steam power plant) ที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ใน พ.ศ. ๒๕๔๗ มีโรงผลิตไฟฟ้าจ� ำนวน ๑๐ หน่วย ประกอบด้วยหน่วยก� ำลังผลิตหน่วยละ ๑๕๐ เมกะวัตต์ (MW) จ� ำนวน ๔ หน่วย และหน่วยก� ำลังผลิตหน่วยละ ๓๐๐ เมกะวัตต์ จ� ำนวน ๖ หน่วย ก� ำลังผลิตไฟฟ้ารวม ๑๗,๕๓๐ กิกะวัตต์-ชั่วโมง (GWh) จะใช้ถ่านหินประมาณปีละ ๑๖ ล้านตัน เหตุการณ์อุบัติเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นจาก มลพิษทางอากาศ คือ พ.ศ. ๒๕๓๕ และ พ.ศ. ๒๕๔๑ โรงไฟฟ้าได้ปล่อยมลพิษ คือ แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ออกสู่บรรยากาศปริมาณสูง จนมีผลกระทบต่อสุขอนามัยของชาวบ้าน สัตว์เลี้ยง และพืชบริเวณรอบ ๆ โรงไฟฟ้า ทั้งนี้ เนื่องจากโรงไฟฟ้าดังกล่าวมิได้ติดตั้งเครื่องก� ำจัดแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในช่วงแรก กล่าวคือ ใน พ.ศ. ๒๕๓๑ ไม่มีการติดตั้งเครื่องก� ำจัดแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ แม้ใน พ.ศ. ๒๕๔๑ จะมีการติดตั้งเครื่องก� ำจัด แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์แล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่ครบตามจ� ำนวน และได้มีการหยุดซ่อมเครื่องก� ำจัดแก๊สซัลเฟอร์ ไดออกไซด์ที่ติดตั้งแล้วอย่างฉุกเฉินโดยไม่มีการหยุดหรือลดก� ำลังผลิตไฟฟ้าลง ส่งผลให้การก� ำจัดมลพิษ ดังกล่าวไม่สมบูรณ์ รวมทั้งช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงอากาศปิด ส่งผลให้ผลกระทบรุนแรงมากขึ้น

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=