สำนักราชบัณฑิตยสภา
29 สั นทั ด ศิ ริ อนั นต์ไพบูลย์ และคณะ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ ค. การท� ำความสะอาดโดยวิธีทางชีวภาพ (biological cleaning) ๑๐ เป็นเทคโนโลยีซึ่งใช้ สิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ในการก� ำจัดก� ำมะถันในถ่านหิน เช่น การใช้แบคทีเรียและเชื้อราบางชนิดที่ใช้ก� ำมะถันเป็น อาหาร เพื่อน� ำสิ่งมีชีวิตที่พบในถ่านหินระหว่างการย่อยสลายเหล่านี้มาเพาะเลี้ยงและสกัดเอาเอนไซม์ย่อย สลายก� ำมะถันมาใช้ในการเร่งกระบวนการก� ำจัดก� ำมะถันในถ่านหิน ๒. เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดขณะเผาไหม้หรือเมื่อน� ำมาใช้ประโยชน์ ๑๐ เทคโนโลยีในส่วนนี้ จะเกี่ยวข้องกับขั้นตอนการใช้ประโยชน์จากถ่านหิน กล่าวคือ เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีการเผาไหม้ถ่านหิน ที่ท� ำให้เกิดมลพิษน้อยที่สุด หรือการใช้ประโยชน์จากถ่านหินในวัตถุประสงค์อื่น ๆ ที่ท� ำให้เกิดมลพิษน้อย ที่สุด ดังนี้ ๒.๑ เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดขณะเผาไหม้ ๑๐ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับระบบการ เผาไหม้ถ่านหิน โดยการปรับปรุงเตาเผาและหม้อไอน�้ ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเผาไหม้ถ่านหินและ ลดมลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ ในอนาคตการเผาไหม้ถ่านหินจะไม่มีการปลดปล่อยแก๊สมลพิษ (zero emission) เทคโนโลยีในกลุ่มนี้ ได้แก่ pulverized fuel (PF) combustion, fluidized bed combustion (FBC) และ pressured fluidized bed combustion (PFBC) ก. pulverized fuel (PF) combustion ๑๐ เป็นวิธีการเผาไหม้ถ่านหินที่ใช้กันอย่าง กว้างขวางในการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน โดยที่ถ่านหินจะถูกบดให้มีขนาดเล็กมาก แล้วพ่นเข้าไปในเตาเผา รูปที่ ๕ การท� ำความสะอาดถ่านหินด้วยกระบวนการ molten caustic leaching ๑๐
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=