สำนักราชบัณฑิตยสภา

25 สั นทั ด ศิ ริ อนั นต์ไพบูลย์ และคณะ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ค่อนข้างสูง รวมถึงข้อด้อยทางสังคมที่ประชาชนยังมีข้อสงสัยและไม่ยอมรับโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ เนื่องจากข่าวสารในแง่ลบที่เกิดขึ้นในกรณีอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ประเทศรัสเซีย โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ประเทศญี่ปุ่น และความรุนแรงของอุบัติเหตุดังกล่าว จ. พลังงานหมุนเวียน (renewable energy) เป็นพลังงานที่สะอาด ปล่อยมลพิษค่อนข้าง ต�่ ำ และใช้ได้อย่างยั่งยืน (sustainable energy) แต่ข้อด้อยของพลังงานทดแทนคือ มีต้นทุนในการผลิต ที่สูง และความไม่เสถียรในการผลิตพลังงานดังกล่าว พลังงานหมุนเวียนนั้นมีอยู่มากมาย เช่น พลังงาน ชีวมวล พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน�้ ำ พลังงานความร้อนใต้พิภพ แต่พลังงานหมุนเวียน แต่ละประเภทมีข้อจ� ำกัดที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสภาพทางภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ สภาพทาง ธรณีวิทยา และสภาพความเป็นอยู่ รวมถึงระดับการศึกษาของประชากร ตัวอย่างเช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ปัจจัยที่เป็นตัวก� ำหนดถึงความเป็นไปได้คือ ปริมาณและความเข้มของแสงอาทิตย์ ราคาค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ พลังงานลม ปัจจัยที่เป็นตัวก� ำหนดคือ ปริมาณและความเร็วของกระแสลม นอกจากนี้ ปัจจัยที่ต้องค� ำนึง ถึงอีกปัจจัยหนึ่งคือ ความเสถียรในการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนนั้น ๆ อย่างไรก็ตาม การ ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้มีการด� ำเนินการมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ยังอยู่ในวงจ� ำกัด การผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย ๕,๖ การผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย มีสัดส่วนการใช้พลังงานประเภทต่าง ๆ ในการผลิต ดังนี้ แก๊ส ธรรมชาติร้อยละ ๖๗.๗๐ ถ่านหินร้อยละ ๒๒.๗๐ พลังงานหมุนเวียนและพลังงานอื่น ๆ ร้อยละ ๘.๒๐ และน�้ ำมันปิโตรเลียมร้อยละ ๑.๔๐ ดังแสดงในรูปที่ ๑ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ประเทศไทยมีปริมาณการใช้แก๊ส ธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าค่อนข้างมาก ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในเรื่องของวิกฤตพลังงานและเศรษฐกิจ เมื่อ เปรียบเทียบราคาพลังงานที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยพบว่า การผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินมีราคาถูก กว่าจากแก๊สธรรมชาติ โดยการใช้ถ่านหินราคาไฟฟ้าจะอยู่ที่ ๐.๕๒๙๓ บาทต่อหน่วย (kW-h) ส่วนกรณี แก๊สธรรมชาติ ค่าไฟฟ้าจะอยู่ที่ ๑.๕๐ บาทต่อหน่วย (kW-h) รูปที่ ๑ สัดส่วนการใช้พลังงานชนิดต่าง ๆ ในการผลิตไฟฟ้า ๗ ถ่านหินลิกไนต์, ๒๒.๗๐% น�้ ำมันเตาและน�้ ำมันดีเซล ๑.๔๐% แก๊สธรรมชาติ ๖๗.๗๐% พลังงานหมุนเวียนและพลังงานอื่น ๆ ๘.๒๐% สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าใน พ.ศ. ๒๕๕๔

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=