สำนักราชบัณฑิตยสภา
23 สั นทั ด ศิ ริ อนั นต์ไพบูลย์ และคณะ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ ถ่านหินเป็นแหล่งพลังงานที่ส� ำคัญตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อุตสาหกรรมถ่านหินซึ่งรวมทั้งการ ส� ำรวจ การผลิต และการใช้ประโยชน์นั้นได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ๑ โดยเฉพาะในประเทศที่เป็นผู้น� ำ ทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น กลุ่มประเทศในยุโรป ถ่านหินถูกน� ำมาใช้ ประโยชน์อย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีปริมาณส� ำรองมากมายกระจายอยู่ทั่วโลก ๑,๒ และคาดว่าจะสามารถ ใช้ไปได้อีกไม่ต�่ ำกว่า ๒๐๐ ปี การขุดถ่านหินขึ้นมาใช้ประโยชน์ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เนื่องจากถ่านหินมีราคา ถูกกว่าน�้ ำมันปิโตรเลียม ถ่านหินส่วนใหญ่จึงถูกน� ำมาเป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ใช้ไอน�้ ำร้อนใน กระบวนการผลิต เช่น การผลิตไฟฟ้า การถลุงโลหะ การผลิตปูนซีเมนต์ การบ่มใบยาสูบ การผลิตอาหาร นอกจากนี้ยังมีการใช้ประโยชน์ในด้านอื่น เช่น การท� ำถ่านกัมมันต์ (activated carbon) เพื่อดูดซับกลิ่น การท� ำคาร์บอนไฟเบอร์ (carbon fiber) ซึ่งเป็นวัสดุที่มีความแข็งแกร่งแต่มีน�้ ำหนักเบา ๑,๓ อีกทั้งยังมีการ พัฒนาเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์ของถ่านหินในรูปของเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดโดยการแปรสภาพ ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงเหลว (coal liquefaction) หรือแก๊ส (coal gasification ) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ ถ่านหินและลดปริมาณมลพิษที่เกิดขึ้น ๓ ประเทศไทยมีปริมาณส� ำรองถ่านหินอยู่มากกว่า ๒,๐๐๐ ล้านตัน ๑ ในจ� ำนวนนี้คิดเป็นปริมาณส� ำรองที่ประเมินแล้ว (measured reserve) * ประมาณ ๑,๑๐๐ ล้านตัน แหล่งถ่านหินส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณตอนเหนือของประเทศ โดยเป็นถ่านหินชนิดลิกไนต์ (lignite) ซับบิทูมินัส (sub-bituminous) และบิทูมินัส (bituminous) และมีปริมาณไม่มากนักที่เป็นถ่านหินชนิด แอนทราไซต์ (anthracite) ซึ่งขุดพบบริเวณจังหวัดเลย ๔ ปัจจุบัน ประเทศไทยมีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มี ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงขึ้น พลังงานส่วนใหญ่ที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าในปัจจุบันคือ แก๊สธรรมชาติ (natural gas) ๒ ซึ่งใช้ในอัตราร้อยละ ๗๐ ของพลังงานที่ใช้ทั้งหมด เนื่องด้วยแก๊สธรรมชาติเป็นพลังงาน ที่ใช้งานง่ายและมีประสิทธิภาพสูง รวมถึงสามารถผลิตได้เองในประเทศ แต่เนื่องด้วยแหล่งส� ำรองแก๊ส ธรรมชาติในประเทศไทยมีจ� ำนวนน้อยและคาดว่าจะส� ำรองเพียงพออีก ๑๐ ปี ๒ แต่ความต้องการใช้แก๊ส ธรรมชาติสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรมประเภทอื่น เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมยาง สังเคราะห์ อุตสาหกรรมพลาสติก ๓,๔ จึงต้องน� ำพลังงานชนิดอื่นมาทดแทนแก๊สธรรมชาติที่เริ่มจะลดลง พลังงานชนิดอื่นที่กล่าวถึงมี ถ่านหิน น�้ ำมันปิโตรเลียม พลังงานชีวมวล นิวเคลียร์ เป็นต้น ๕ พลังงานแต่ละ ชนิดที่กล่าวนี้มีข้อดีข้อด้อยที่ต่างกัน รวมถึงมีข้อจ� ำกัดในการใช้พลังงานชนิดนั้น ๆ ๔,๕ ประเภทของพลังงาน ข้อดีและข้อด้อยของพลังงานแต่ละชนิด ๕ แหล่งพลังงานที่ถูกน� ำมาใช้ในเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมในปัจจุบันมีอยู่มากมายหลาย ชนิด แต่ละชนิดจะมีข้อดี-ข้อด้อย และข้อจ� ำกัดที่แตกต่างกัน ส่งผลให้เกิดข้อจ� ำกัดในการเลือกใช้แหล่ง * ศัพท์ธรณีวิทยา ค� ำว่า measured reserve ราชบัณฑิตยสถานใช้ศัพท์บัญญัติว่า ปริมาณส� ำรองวัดได้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=