สำนักราชบัณฑิตยสภา
The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 ถ่านหินกับการผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย สันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์ สายวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะพลังงาน สิ่งแวดล้อม และวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ณัฏฐณิชา ตระการจินดานนท์ สายวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะพลังงาน สิ่งแวดล้อม และวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต ราชบัณฑิต ส� ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน บทคัดย่อ ถ่านหินเป็นแหล่งพลังงานที่ส� ำคัญแหล่งหนึ่ง เนื่องจากหาได้ง่าย มีราคาถูก รวมถึงมี ปริมาณส� ำรองที่ใช้ได้นานกว่า ๒๐๐ ปี ส่งผลให้มีการใช้ประโยชน์จากถ่านหินกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในการผลิตไฟฟ้า แม้ว่าการผลิตไฟฟ้าในปัจจุบันอาจใช้เชื้อเพลิงหลายประเภท เช่น แก๊ส ธรรมชาติ น�้ ำมันปิโตรเลียม พลังงานน�้ ำ พลังงานหมุนเวียน ด้วยข้อได้เปรียบของถ่านหินดังกล่าวข้าง ต้น ถ่านหินจึงเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าของโลกในปัจจุบัน แต่การน� ำถ่านหินมาใช้ประโยชน์ ก็ก่อปัญหาสิ่งแวดล้อมมากมาย โดยเฉพาะการปลดปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณสูงเมื่อ เทียบกับการใช้แก๊สธรรมชาติและน�้ ำมันปิโตรเลียม เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด จึงเป็นทางเลือกหนึ่งเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ นอกจากนี้การสร้างความเชื่อ มั่นและความยอมรับจากทุกภาคส่วนเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความส� ำคัญ เพราะปัญหาโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะในอดีตส่งผลให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในภาครัฐและ ผู้ประกอบกิจการโรงไฟฟ้าถ่านหิน เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ภาครัฐ ผู้ประกอบกิจการโรงไฟฟ้า องค์กรเอกชน (non-government organization: NGO) และนักวิชาการ ควรจะร่วมกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวเชิงบูรณการโดยค� ำนึงถึงความเสมอภาคและ จิตส� ำนึกที่ดี และอ้างอิงข้อมูลทางวิชาการที่สามารถพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์โดยปราศจากมายาคติ ค� ำส� ำคัญ : โรงไฟฟ้า, โรงไฟฟ้าแม่เมาะ, ถ่านหิน, เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=