สำนักราชบัณฑิตยสภา

307 องค์การอิ สระด้านสิ่ งแวดล้อมและสุขภาพ (กอสส.) วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ ตลอดจนการให้โรงงานจัดท� ำแผนฉุกเฉินและจัดให้มีการซ้อมแผนฯ ทุก ๖ เดือน และต้องก� ำหนดอย่าง ชัดเจนว่า ใครควรอยู่ร่วมซ้อมแผนฉุกเฉิน ทั้งนี้ ต้องน� ำแผนของชุมชนมาบูรณาการกับแผนของโรงงาน ด้วย นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมจะออกหนังสือแจ้งถึงบริษัทฯ เพื่อขอความร่วมมือจัดท� ำพื้นที่แนว กันชนเพิ่มเติม เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชน ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์ ได้มีการประชุมหารือระหว่างผู้อ� ำนวยการส� ำนักงานเขตพระโขนง คณะกรรมการชุมชน ๕ ชุมชนที่อยู่ใกล้โรงกลั่นน�้ ำมันบางจาก ได้แก่ ชุมชนหน้าวัดบุญรอดธรรมาราม ชุมชนหลังวัดบุญรอดธรรมาราม ชุมชนหน้าโรงเรียนบางจาก ชุมชนเล็กเที่ยง และชุมชนข้างโรงกลั่น ผู้แทนกองบัญชาการต� ำรวจนครบาล (บช.น.) ส� ำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (สปภ.) กทม. และ บริษัทบางจากฯ พิจารณาจัดท� ำแผนอพยพกรณีที่เกิดเหตุการณ์ซ�้ ำขึ้นมาอีกในอนาคต โดยแบ่งเป็นระยะ สั้น ระยะกลาง และระยะยาว ให้ชัดเจนและครอบคลุม พร้อมทั้งให้บูรณาการการท� ำงานร่วมกัน โดยที่ การท� ำแผนอพยพนั้น สปภ. กรุงเทพมหานครจะเป็นผู้รับด� ำเนินการจัดท� ำ ส่วนการช่วยเหลือประชาชนที่ ได้รับผลกระทบ บริษัทบางจากฯ จะให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนทันที และหน่วยงานของ กทม. จะท� ำ หน้าที่ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือต่อไป ประเด็นที่ส� ำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง คือ การวางผังเมือง ซึ่งที่ผ่านมาจะเน้นไปที่การสร้างหรือพัฒนา เมือง เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและสังคม โดยลืมค� ำนึงถึงสิ่งที่ส� ำคัญที่สุด คือ เรื่องความปลอดภัยของประชาชน จนท� ำให้เกิดการสร้างชุมชนในบริเวณใกล้เคียงกับสถานที่เสี่ยงอันตราย ในกรณีนี้ โรงกลั่นมีการก่อสร้าง ก่อนที่ชุมชนจะย้ายเข้ามาอยู่ จึงเป็นไปได้ยากที่จะย้ายโรงกลั่นไปอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรม เนื่องจาก ต้องใช้เงินลงทุนมากและระยะเวลาในการก่อสร้างนาน จากปัญหาดังกล่าว อาจสามารถก� ำหนดแนวทาง แก้ปัญหาในระยะยาวให้ชัดเจนได้โดยก� ำหนดระยะห่างระหว่างชุมชนกับโรงกลั่นเพื่อป้องกันอันตรายทั้ง จากอุบัติเหตุและผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และที่ส� ำคัญคือเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของ ประชาชน รวมถึงควรประยุกต์แนวทางบริหารจัดการเมืองนิเวศ (Eco-town) อย่างในประเทศญี่ปุ่นซึ่ง เป็นต้นแบบในล� ำดับต้น ๆ ของโลกที่สามารถท� ำให้อุตสาหกรรมและชุมชนอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน และ ประสบผลส� ำเร็จมาแล้วในหลาย ๆ เมือง การน� ำแนวทางการจัดการเมืองนิเวศดังกล่าวมาปรับใช้กับเมือง ไทยนั้น จะมีแนวคิดพื้นฐานคือ การปล่อยสารมลพิษเป็นศูนย์ (Zero-emission concept) ซึ่งเมื่อน� ำมาใช้ แล้วก็จะท� ำให้เมืองหรือชุมชนที่อยู่อาศัยในบริเวณรอบ ๆ โรงงานอุตสาหกรรมอยู่ร่วมกันได้ โดยชุมชนไม่ เดือดร้อน และลดความกังวลของภัยอันตรายจากสารมลพิษต่าง ๆ ที่ปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ โรงงานต่าง ๆ ควรยึดหลัก ๓ R คือการลดการใช้งาน (Reduce) การใช้ซ�้ ำ (Reuse) และการท� ำให้น� ำกลับ มาใช้ประโยชน์ได้อีก (Recycle) หากมีการปฏิบัติหลักการดังกล่าวโดยเคร่งครัด จะท� ำให้เกิดมลพิษน้อย ลง รวมถึงการใช้ทั้งทรัพยากรและพลังงานก็ลดลงตามไปด้วย ท� ำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น ซึ่งเป็นการช่วยรักษา สิ่งแวดล้อม ส่งผลให้การพัฒนาประเทศเป็นไปในแนวทางที่ยั่งยืน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=