สำนักราชบัณฑิตยสภา
บทเรี ยนที่ ต้องใส่ใจ : กรณี ระเบิ ดที่ โรงงาน บี เอสที อี ในนิ คมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและโรงกลั่ นน�้ ำมั นบางจากฯ 306 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 ผลการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพด้านอุตสาหกรรม (EHIA) และมีความคิดเห็นว่า การ ขยายตัวของโรงงานในพื้นที่มาบตาพุดนั้นเกินขีดความสามารถที่จะรองรับต่อไปได้ กอสส. ได้ให้ความเห็น เกี่ยวกับโครงการส่วนขยายของบริษัทกรุงเทพซินธิติกส์ โดยได้ท้วงติงความไม่สมบูรณ์ในหลายประเด็น และหลังจากนั้น กนอ. ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของโครงการ เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่ ผ่านไป และขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาว่าจะอนุญาตให้ขยายโครงการดังกล่าวได้หรือไม่ ๒. เหตุระเบิดโรงกลั่นน�้ ำมันบางจาก ในเหตุการณ์ระเบิดโรงกลั่นน�้ ำมันของบริษัทบางจากปิโตรเลียม จ� ำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ บริษัทฯ ได้สันนิษฐานว่าเกิดจากอุปกรณ์ที่รั่วและเกิดการติดไฟที่หอแยกน�้ ำมันก๊าด ในหน่วยกลั่นที่ ๓ ขนาดก� ำลังการผลิตวันละ ๘๐,๐๐๐ บาร์เรล ซึ่งเจ้าหน้าที่โรงกลั่นน�้ ำมันบางจากสามารถ ควบคุมเหตุการณ์ไว้ได้ภายใน ๔๐ นาที โดยไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ หลังเกิดเหตุเจ้าหน้าที่กรมควบคุมมลพิษ ได้เข้าตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยใช้เครื่องตรวจวัดคุณภาพน�้ ำและอากาศที่ติดตั้งในบริเวณชุมชน รอบโรงกลั่นและหอพักของก� ำลังพล สังกัดส� ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พบว่าคุณภาพอากาศในช่วงที่ เกิดเหตุมีสารไซลีน โทลูอีน เบนซีน ฝุ่นละออง แก๊สไนโทรเจนไดออกไซด์ และแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ฟุ้ง อยู่ในอากาศ แต่สารทั้งหมดยังมีค่าต�่ ำกว่าค่าปลอดภัยมาตรฐาน ส่วนการตรวจสอบน�้ ำเสียจากจุดระบาย น�้ ำของโรงกลั่นไปสู่ล� ำคลอง ไม่พบว่ามีน�้ ำมันปนเปื้อนแต่อย่างใด รวมทั้ง กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ได้เข้าตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมบริเวณรอบโรงกลั่นอย่างต่อเนื่อง ไม่พบสารมลพิษ บริษัทฯ ได้วางแผนเพิ่มมาตรการด้านความปลอดภัยให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าทางโรงกลั่นจะ ควบคุมเหตุการณ์ดังกล่าวได้เร็วและมีแผนฉุกเฉินการตรวจสอบโรงกลั่นทั้งระบบเสนอต่อ กรอ. ทุกเดือน อีก ทั้งยังได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจปีละ ๔-๕ ครั้ง แต่หลังจากเกิดเหตุการณ์นี้ กรอ. จะปรับปรุงระบบตรวจสอบ ใหม่ โดยจะส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบทุกจุดของโรงกลั่นที่เป็นระบบท� ำงานให้ครอบคลุมและเข้มงวดขึ้น แผนระยะยาวจะเพิ่มความถี่ในการตรวจสอบเป็นประมาณปีละ ๑๐ ครั้ง และจะใช้กับโรงกลั่นและโรงงาน อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ทุกแห่ง นอกจากนี้ จะพิจารณาระเบียบของ กรอ. ทั้งหมด เพื่อให้การด� ำเนินงานมี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งจะออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ก� ำหนดให้โรงงานต้องจัดท� ำรายงาน ประเมินความเสี่ยง และจะมีผลบังคับใช้ต่อไป ขณะนี้อยู่ระหว่างการเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อุตสาหกรรมเพื่อพิจารณาลงนามประกาศดังกล่าว ซึ่งจัดท� ำขึ้นภายหลังเกิดอุบัติเหตุโรงงาน BSTE ระเบิด โดยมีเนื้อหาส� ำคัญที่ว่าด้วยเรื่องของความเสี่ยงของการระเบิดและเกิดเพลิงไหม้ โดยที่โรงงานจะ เป็นผู้วิเคราะห์จุดเสี่ยง จุดอันตราย และสาเหตุของความเสี่ยง รวมทั้งการวิเคราะห์ความเสี่ยงในภาพรวม โดยวัดจากโอกาสการเกิดอันตราย ทั้งนี้ โรงงานและประชาชนในพื้นที่ร่วมกันจัดท� ำแผนการประเมินความ เสี่ยง นอกจากนี้ยังได้จัดท� ำแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงของโรงงานให้อยู่ในระดับที่ควบคุมได้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=