สำนักราชบัณฑิตยสภา
305 องค์การอิ สระด้านสิ่ งแวดล้อมและสุขภาพ (กอสส.) วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ ในการซ่อมระบบ ทดสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ โทลูอีนที่เป็นต้นเหตุการเกิดโศกนาฏกรรมในครั้งนี้ เป็นตัว ท� ำละลายในกระบวนการผลิตยางสังเคราะห์ ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่สารอันตราย แต่ควันจากการลุกไหม้จะ ส่งผลให้เกิดการระคายเคืองตา ผิวหนัง และทางหายใจ และก่ออาการคลื่นไส้อาเจียนได้ เหตุการณ์ระเบิดได้ท� ำให้ประชาชนในพื้นที่แตกตื่นอลหม่าน เพราะทุกคนต่างพยายามหนีออก จากพื้นที่ให้เร็วที่สุดเพื่อรักษาชีวิต เหตุการณ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวของการซ้อมแผนฉุกเฉิน ที่แม้ว่าได้ทดลองท� ำทั้งในระดับชุมชน ระดับโรงงาน และระดับจังหวัดก็ตาม แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน ขึ้นจริง แผนต่าง ๆ ที่เตรียมไว้ก็ดูเหมือนจะเป็นเพียงแผนที่ไม่สามารถน� ำมาปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้ง ๆ ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นโรงงานหรือผู้ก� ำกับดูแลโรงงานอย่างการนิคมอุตสาหกรรมแห่ง ประเทศไทย (กนอ.) ทราบตระหนักและให้ความส� ำคัญในการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินเพื่อให้เกิดการปฏิบัติ อย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม รวมถึงการจัดการสิ่งแวดล้อม และการฟื้นฟูเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ อย่างจริงจังก็ตาม ทั้งนี้ นายจัตุรัส เอี่ยมวรนิรันดร์ ประธานชุมชนประมงเรือเล็กพื้นบ้าน ได้กล่าวถึงน�้ ำที่ ใช้ดับเพลิงซึ่งได้ไหลไปตามล� ำธารลงคลองชากหมาก ส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเลที่เป็นแหล่งท� ำมาหากิน ของชาวประมงในพื้นที่ จึงต้องการให้บริษัทชดเชยและฟื้นฟูผลกระทบที่เกิดขึ้น ( ASTV ผู้จัดการออนไลน์, ๒๕๕๕) อย่างไรก็ตาม หลังจากที่เกิดเหตุ กรมควบคุมมลพิษได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจวัดค่าโทลูอีนที่ตกค้างอยู่ ในสิ่งแวดล้อม และพบว่ามีค่าเพียง ๐.๑-๐.๔ ส่วนในล้านส่วน ซึ่งไม่เป็นอันตราย จึงท� ำให้ประชาชนใน พื้นที่ลดความกังวลต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบความเสีย หายทั้งหมดทั้งภายในโรงงานและโรงงานใกล้เคียง และให้ทบทวนพระราชบัญญัติภาษีปล่องควัน สนับสนุน กองทุนให้แก่ชุมชน ปรับปรุงแผนการสื่อสารและแผนเตือนภัย รวมทั้งจัดตั้งคณะกรรมการไตรภาคี คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนลงพื้นที่ตรวจวัดสารเคมีตกค้างโดยเร็ว อีกทั้งได้มีค� ำสั่งให้เยียวยาผู้ได้รับ ผลกระทบ และให้กระทรวงสาธารณสุขตั้งหน่วยแพทย์ฉุกเฉินส� ำรวจรอบชุมชน เพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่า ไม่มีสารตกค้างในพื้นที่ โดยจะน� ำเรื่องดังกล่าว ไปประเมินร่วมกับผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมฯ ทุก ๓ เดือน ( ASTV ผู้จัดการออนไลน์, ๒๕๕๕). นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา ตั้งข้อสังเกตจากการลงพื้นที่ว่า หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในขณะเกิดเหตุไม่ทราบเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่มีข้อมูลสารเคมี จึงท� ำได้เพียงระงับเหตุตามแบบพื้นฐานทั่วไป ท� ำให้เกิด ความล่าช้าในการระงับเหตุ เรื่องนี้ควรมีการปรับปรุงมาตรการตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมและความ ปลอดภัยให้รัดกุม และติดตามการปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด ( ASTV ผู้จัดการออนไลน์, ๒๕๕๕) ในขณะเดียวกัน นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านภาวะโลกร้อน ได้ออกแถลงการณ์ เสนอให้ กนอ. เพิกถอนใบอนุญาตของ บริษัท กรุงเทพซินธิติกส์ และคัดค้านการขยายโรงงาน โดยได้จัดท� ำรายงาน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=