สำนักราชบัณฑิตยสภา

The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 บทเรียนที่ต้องใส่ใจ : กรณีระเบิดที่โรงงาน บีเอสทีอี ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และโรงกลั่นน�้ ำมันบางจากฯ จากเหตุการณ์ระเบิดที่โรงงานบีเอสที อีลาสโทเมอร์ (Bangkok synthetic Elastomer) (BSTE) ใน นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ และต่อมาเพียง ๒ เดือน ก็ เกิดเหตุการณ์ในลักษณะเดียวกันที่โรงกลั่นน�้ ำมันบางจากฯ สุขุมวิท ๖๔ เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ มีข้อคิดว่าท� ำไมจึงเกิดเหตุการณ์รุนแรงในช่วงเวลาไม่ห่างกันนัก สาเหตุรวมถึงข้อเท็จจริงตลอดจนข้อคิด เห็นเชิงเสนอแนะต่าง ๆ เป็นอย่างไร คณะกรรมการ กอสส. ขอน� ำเสนอบทความเชิงวิชาการที่อ้างอิง ข้อมูลที่ได้จากนักวิชาการ และจากชาวบ้านในชุมชนที่คณะกรรมการฯ ได้ไปส� ำรวจความคิดเห็น และ ได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ไม่เฉพาะโครงการที่ กอสส. จะต้องให้ความเห็นตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๗ วรรค ๒ ยังมีเรื่องที่ชาวบ้านให้ข้อมูลส� ำคัญที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเกิดระเบิดที่โรงงาน BSTE ประกอบกับข้อมูลที่ได้จากสื่อมวลชน ตลอดจนแถลงการณ์ของโรงงาน น� ำมาประมวลข้อมูลต่าง ๆ เพื่อ ถ่ายทอดสู่ผู้ที่สนใจและผู้ที่เกี่ยวข้อง อันจะท� ำให้เกิดองค์ความรู้ทราบถึงการบริหารจัดการที่ผ่านมาว่า ประสบผลส� ำเร็จมากน้อยเพียงใด และสมควรต้องด� ำเนินการต่อไปอย่างไร จึงจะลดความเสี่ยงเหตุการณ์ ดังกล่าวได้ในอนาคต ๑. โรงงาน BSTE : เหตุการณ์ระเบิดของสารโทลูอีน เหตุการณ์ระเบิดเกิดเพลิงไหม้โรงงานผลิตยางสังเคราะห์ในพื้นที่มาบตาพุดของบริษัท BSTE เมื่อวันเสาร์ที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ มีผู้เสียชีวิต ๑๒ ราย และได้รับบาดเจ็บ ๑๙๔ ราย (ข้อมูล ณ วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕) เวลาการเกิดเหตุระเบิดดังกล่าวอยู่ในช่วงการปิดซ่อมบ� ำรุงเครื่องจักร และเป็น ช่วงที่โรงงานได้หยุดสายการผลิตเพื่อเตรียมการเปลี่ยนชนิดผลิตภัณฑ์ โดยได้ล้างท� ำความสะอาดสายการ ผลิตและไล่ความชื้นด้วยโทลูอีนเป็นขั้นสุดท้าย หลังจากเกิดเหตุระเบิด นายไชยยศ วงศ์พยัต กรรมการ ผู้จัดการบริษัท BSTE ได้ชี้แจงถึงสาเหตุว่าอาจเกิดจากการท� ำงานผิดขั้นตอน ท� ำให้เกิดการระเบิดจาก โทลูอีน ซึ่งเป็นสารไวไฟที่ค้างอยู่ในท่อ ขณะนี้โรงงานได้ถูกสั่งปิด และคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ ๖ เดือน องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (กอสส.)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=