สำนักราชบัณฑิตยสภา
รูปแบบการจั ดการท่องเที่ ยวเพื่ อการเสริ มสร้างรายได้ภาคเกษตรกรรมในพื้ นที่ จั งหวั ดระยอง 294 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 ในรูปแบบที่ ๓ นี้ก็คือ การควบคุมคุณภาพ/มาตรฐานของสินค้าเป็นหลัก ซึ่งได้มีการน� ำกลไกการจัดการ ตลาดมาเป็นเครื่องมือส� ำคัญในการเพิ่มมูลค่าของสินค้า/ผลผลิต ส� ำหรับกลุ่ม/ประเภทของลูกค้า มักเป็น กลุ่มลูกค้าที่นิยมสินค้าที่มีคุณภาพ สด ใหม่ สะอาด โดยค� ำนึงถึงสุขภาพเป็นหลัก อีกทั้งยังเป็นลูกค้าที่มี ก� ำลังซื้อที่ค่อนข้างสูง และจากการศึกษาสวนต้นแบบทั้ง ๖ สวน พบว่า สวนที่อยู่ในรูปแบบที่ ๓ มี ๒ สวน ดังปรากฏรายละเอียดในแผนภาพที่ ๓ แผนภาพที่ ๓ รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเน้นการตลาดเชิงรุก ที่มา : คมพล สุวรรณกูฏ, ๒๕๕๕ พื้นที่ศักยภาพในการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างรายได้ภาคเกษตรกรรมโดยการจัดการท่อง เที่ยว ผู้วิจัยได้ประสานงานกับทางส� ำนักงานเกษตรจังหวัด เพื่อขอความคิดเห็นเกี่ยวกับพื้นที่ที่มีความ เป็นไปได้ในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ทั้งนี้ผู้วิจัยได้รายชื่อของพื้นที่ศักยภาพที่จะพัฒนา เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรมาจ� ำนวน ๖ สวน โดยผู้วิจัยได้มีการลงส� ำรวจพื้นที่เพื่อท� ำการเก็บรวบรวม ข้อมูล พร้อมกับประเมินศักยภาพของพื้นที่สวนเกษตรทั้ง ๖ สวน ในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิง เกษตรอย่างเต็มรูปแบบ โดยผู้วิจัยสามารถจ� ำแนกออกเป็น ๓ กลุ่มหลักด้วยกันคือ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=