สำนักราชบัณฑิตยสภา

293 คมพล สุวรรณกูฎ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ แผนภาพที่ ๒ รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตร “สอดคล้องวิถีชีวิต อิงแอบธรรมชาติ” ที่มา : คมพล สุวรรณกูฏ, ๒๕๕๕ ๓) รูปแบบ “การตลาดเชิงรุก” มีรูปแบบการท� ำงานที่เป็นสวนเดียวเอกเทศ ไม่ได้มีการน� ำสินค้าจากสวนอื่นมาขายในสวนตน เนื่องจากจะเน้นให้ความส� ำคัญในเรื่องของคุณภาพของสินค้า/ผลผลิตที่สะอาด สด ใหม่ และปลอดภัยต่อผู้ บริโภคเป็นหลัก (Fruit Fresh Healthy) อีกทั้งยังมีการค� ำนึงถึงคุณภาพและความทั่วถึงในการให้บริการต่อ ลูกค้า ด้วยเหตุนี้ จึงท� ำให้ศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยวของสวนในรูปแบบที่ ๓ นี้ ไม่สามารถรองรับ นักท่องเที่ยวพร้อม ๆ กันได้มากนัก สวนในรูปแบบที่ ๓ นี้ ยังให้ความส� ำคัญกับเรื่องของการจัดการพื้นที่ กล่าวคือ มีการตกแต่งภูมิทัศน์ของสถานที่ให้มีความสวยงาม มีการก� ำหนดเส้นทางในการเดินชมสวน จุด ส� ำหรับเลือกซื้อสินค้า จุดถ่ายรูป ที่นั่งพัก ห้องน�้ ำสะอาด และมีความมิดชิด รวมทั้งยังมีการคิดหากิจกรรม ใหม่ ๆ มาไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยวอยู่เสมอ ในการท� ำงาน/ขับเคลื่อนงานของสวนในรูปแบบนี้ เจ้าของสวน และคนในครอบครัวจะเป็นผู้ที่มีบทบาทส� ำคัญ เนื่องจากจะต้องควบคุมในเรื่องของคุณภาพของสินค้า เพื่อสร้างแบรนด์ของสินค้า ด้วยเหตุนี้ จึงอาจกล่าวได้ว่าหัวใจส� ำคัญของการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=