สำนักราชบัณฑิตยสภา
รูปแบบการจั ดการท่องเที่ ยวเพื่ อการเสริ มสร้างรายได้ภาคเกษตรกรรมในพื้ นที่ จั งหวั ดระยอง 290 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในจังหวัดระยอง โดยมีประเด็นส� ำคัญในการศึกษา คือ ความ พึงพอใจ พฤติกรรม และความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศต่อการท่องเที่ยว ทั้งกระแสหลักและการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ฯลฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ตัวแทนบริษัทน� ำเที่ยวที่จัดน� ำเที่ยวในจังหวัดระยองจ� ำนวน ๒๐ ราย มัคคุเทศก์จ� ำนวน ๒๐ ราย ตัวแทนผู้ประกอบการท่องเที่ยวในจังหวัดระยองจ� ำนวน ๒๐ ราย รวม ถึงประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มีอายุตั้งแต่ ๑๘ ปีขึ้นไป ซึ่งเคยเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัด ระยอง ภายในระยะเวลา ๑ ปีที่ผ่านมา ซึ่งการก� ำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เลือกใช้สูตร ทาโร ยามาเน ( Yamane ๑๙๗๓ : ๗๒๗-๗๒๘) ในการก� ำหนดขนาดตัวอย่าง ที่ระดับ ความเชื่อมั่นร้อยละ ๙๕ ซึ่งได้ขนาดจ� ำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ ๔๐๐ คน ๓. การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ๓.๑ การสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) เกี่ยวกับนโยบาย/ยุทธศาสตร์กับผู้บริหาร ระดับก� ำหนดนโยบายและบังคับใช้จ� ำนวน ๓ คน ๓.๒ กรณีศึกษาที่ประสบความส� ำเร็จ (Best Practices) ในการจัดการการท่องเที่ยว เชิงเกษตรในพื้นที่จังหวัดระยองจ� ำนวน ๖ กรณีศึกษา เพื่อเก็บข้อมูลของพื้นที่ตัวอย่างที่ประสบความ ส� ำเร็จของภาคเกษตรกรรมที่เชื่อมโยงกับการจัดการท่องเที่ยว และสถานการณ์การเสริมสร้างรายได้ ภาคเกษตรกรรมโดยการจัดการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดระยอง รวมถึงเพื่อศึกษารูปแบบการเสริมสร้าง รายได้ภาคเกษตรกรรมโดยการจัดการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดระยอง ๓.๓ จัดเวทีประชุมกลุ่มย่อย/สนทนากลุ่ม (Focus Group) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stake- holder) ต่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรจ� ำนวน ๖ ครั้ง โดยมีกลุ่มเป้าหมายจ� ำนวน ๑๖ คน ได้แก่ ภาคเกษตรกรรมผู้จัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่ตัวอย่างและพื้นที่ศักยภาพ ภาคอุตสาหกรรม ท่องเที่ยว ภาครัฐ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนายุทธศาสตร์จังหวัด โดยมีประเด็นในการ ระดมความคิดเห็น ได้แก่ แนวทางการประเมินพื้นที่ศักยภาพ รูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวของพื้นที่ศักยภาพ แนวทางในการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แผนการพัฒนาพื้นที่ ศักยภาพให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ๓.๔ จัดเวทีสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Test Study) เพื่อประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนา ข้อเสนอเชิงกลยุทธ์จ� ำนวน ๔ ครั้ง โดยกลุ่มเป้าหมายจ� ำนวน ๖๐ คน ได้แก่ ภาคเกษตรกรรมผู้จัดการ ท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่ตัวอย่างและพื้นที่ศักยภาพ ภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ภาครัฐ และ ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนายุทธศาสตร์จังหวัด ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการจัดเวทีสัมมนา เชิงปฏิบัติการแต่ละเวที ดังนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=