สำนักราชบัณฑิตยสภา

รูปแบบการจั ดการท่องเที่ ยวเพื่ อการเสริ มสร้างรายได้ภาคเกษตรกรรมในพื้ นที่ จั งหวั ดระยอง 288 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 จากการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก (Eastern Seaboard Development Program) ได้ ส่งผลให้จังหวัดระยองเป็นศูนย์อุตสาหกรรมหลักและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เป็นศูนย์กลางความเจริญแห่ง ใหม่ มีการลงทุนภาคอุตสาหกรรมสูงที่สุดของประเทศ มีการจ้างงานจ� ำนวนมาก เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพ สูง มีการจัดเตรียมสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานไว้อย่างสมบูรณ์ เพื่อรองรับภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัวอย่าง รวดเร็ว ส่งผลให้รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรสูงเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ คือ ๑,๑๔๓,๗๔๐ บาทต่อคน ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) เท่ากับ ๖๗๒,๑๐๔ ล้านบาท โดยมาจากสาขาการผลิตด้านอุตสาหกรรม กว่าร้อยละ ๙๒ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (ส� ำนักงานจังหวัดระยอง, ๒๕๕๔) ปัจจุบันจังหวัดระยองจึงเป็นที่รู้จักว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยว มีผลไม้ชั้นยอด และเป็นแหล่ง อุตสาหกรรมหลักของประเทศ ผนวกกับวิสัยทัศน์การพัฒนาตามแผนปฏิบัติราชการประจ� ำปีของจังหวัด ระยอง พ.ศ. ๒๕๕๔ ยังได้กล่าวถึง “เมืองแห่งคุณภาพชีวิตที่ดีและเศรษฐกิจที่สมดุล (City of Good Quality of Life and Balanced Economy) ” โดยมีประเด็นยุทธศาสตร์ครอบคลุมทั้งในด้านการท่องเที่ยว เกษตรกรรม สังคม และอุตสาหกรรม ได้แก่ ๑) พัฒนาและฟื้นฟูการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ๒) ส่งเสริมและ พัฒนาให้เป็นแหล่งผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ได้มาตรฐาน สามารถสร้างและขยายโอกาส ทางการตลาดได้ ๓) สร้างเสริมสังคมให้มีคุณธรรมน� ำความรู้ สู่การด� ำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง และ ๔) ส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นแหล่งอุตสาหกรรมของภูมิภาคที่ได้มาตรฐานด้านความปลอดภัย ต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนสังคมได้อย่างยั่งยืน กอปรกับทัศนะของนายสยุมพร ลิ่มไทย (สัมภาษณ์เมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ ณ อบต. ตาขัน) อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดและที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้กล่าวถึงศักยภาพเชิงพื้นที่ ที่แท้จริงของจังหวัดระยอง มี ๒ ประการ คือ ๑) ความเป็นเมืองเกษตรกรรม เนื่องจากเกษตรกรรมเป็นอาชีพดั้งเดิมของชาวระยองกว่า ๓ ชั่วอายุ คน โดยเฉพาะเกษตรกรชาวสวนผลไม้ ชื่อเสียงของระยองก็คือ ความเป็นเมืองผลไม้มาแต่เดิม เพียง ในระยะหลังพื้นที่เกษตรกรรมถูกเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ กลายเป็นพื้นที่ปลูกยางพาราเป็นส่วนใหญ่ (คิดเป็นร้อยละ ๘๐ ของพื้นที่เกษตรกรรม) ถือเป็นจุดหักเหของการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตร การท� ำสวนผลไม้ จึงถือเป็นศักยภาพดั้งเดิม ๒) ความเป็นเมืองท่องเที่ยว ถือเป็นศักยภาพ โดยพื้นที่มีความหลากหลาย มีชายหาดมาก มีหมู่ เกาะที่มีชื่อเสียง เป็นเมืองประวัติศาสตร์ เป็นเมืองเก่า ในหลายพื้นที่ยังคงอนุรักษ์ความเป็นชุมชนเก่าแก่ การ ท่องเที่ยวจึงถือเป็นขีดความสามารถที่แท้จริงของชาวระยอง ในส่วนของความเป็นเมืองอุตสาหกรรม จังหวัดระยองจ� ำเป็นต้องพึ่งพิงนโยบายของรัฐ จึงถือว่าเป็น สิ่งที่ถูกจัดท� ำขึ้น “...หากรัฐบาลไม่มีนโยบายการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยก� ำหนดให้จังหวัด ระยองเป็นพื้นที่เป้าหมาย เมืองอุตสาหกรรมก็ไม่เกิดขึ้นที่นี่ มาบตาพุดเป็นเมืองอุตสาหกรรมจากการที่ถูก

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=