สำนักราชบัณฑิตยสภา

287 คมพล สุวรรณกูฎ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ ในรูปแบบที่ ๓ นี้ ยังให้ความส� ำคัญกับเรื่องของการจัดการพื้นที่ กล่าวคือ มีการตกแต่งภูมิทัศน์ของ สถานที่ให้มีความสวยงาม มีการก� ำหนดเส้นทางในการเดินชมสวน จุดส� ำหรับเลือกซื้อสินค้า จุดถ่าย รูป ที่นั่งพัก ห้องน�้ ำสะอาด และมีความมิดชิด รวมทั้งยังมีการคิดหากิจกรรมใหม่ ๆ ส� ำหรับต้อนรับ นักท่องเที่ยวอยู่เสมอ ในการท� ำงาน/ขับเคลื่อนงานของสวนในรูปแบบนี้ เจ้าของสวนและคนใน ครอบครัวเป็นผู้ที่มีบทบาทส� ำคัญ เนื่องจากจะต้องควบคุมในเรื่องของคุณภาพของสินค้า เพื่อสร้าง แบรนด์ของสินค้า ด้วยเหตุนี้ จึงอาจกล่าวได้ว่าหัวใจส� ำคัญของการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ในรูปแบบที่ ๓ นี้ ก็คือ การควบคุมคุณภาพ/มาตรฐานของสินค้าเป็นหลัก ซึ่งได้มีการน� ำกลไกการ จัดการตลาดมาเป็นเครื่องมือส� ำคัญในการเพิ่มมูลค่าของสินค้า/ผลผลิต ส� ำหรับกลุ่ม/ประเภทของ ลูกค้า มักเป็นกลุ่มลูกค้าที่นิยมสินค้าที่มีคุณภาพ สด ใหม่ สะอาด โดยค� ำนึงถึงสุขภาพเป็นหลัก อีก ทั้งยังเป็นลูกค้าที่มีก� ำลังซื้อที่ค่อนข้างสูง และจากการศึกษาสวนต้นแบบทั้ง ๖ สวน พบว่า สวนที่ อยู่ในรูปแบบที่ ๓ มี ๒ สวน ข้อเสนอเชิงกลยุทธ์เพื่อการเสริมสร้างรายได้ภาคเกษตรกรรมเชิงบูรณาการท่องเที่ยวจังหวัดระยอง ประกอบด้วย ๑) ยุทธศาสตร์ศูนย์กลางตลาดผลไม้ที่มีคุณภาพของประเทศไทยสู่ตลาดอาเซียน ๒) ยุทธศาสตร์สร้างมาตรฐานการบริการและแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ๓) ยุทธศาสตร์ “ Fruit Direct Sale ” ๔) ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบฐานข้อมูลนักท่องเที่ยวที่เป็นระบบ เพื่อใช้เป็นช่องทางใน การประชาสัมพันธ์การส่งเสริมสินค้า และ ๕) ยุทธศาสตร์เครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบ บูรณาการ ค� ำส� ำคัญ : การท่องเที่ยวเชิงเกษตร, อุตสาหกรรมท่องเที่ยว บทน� ำ ระยองเป็นจังหวัดขนาดเล็ก ในอดีตเป็นที่รู้จักในฐานะ เมืองแห่งผลไม้ดี ของภาคตะวันออก ไม่ว่าจะเป็นมังคุด ทุเรียน เงาะ รวมทั้งอาหารทะเลสดแปรรูป กะปิ น�้ ำปลา เนื่องจากความเหมาะสมของ สภาพดินฟ้าอากาศที่เอื้ออ� ำนวย และสภาพภูมิประเทศที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังได้ชื่อว่าเป็น เมืองท่อง เที่ยวที่สวยงาม เนื่องจากมีชายหาดยาวสวยเลียบขนานไปกับอ่าวไทยและเกาะสวยงามระดับโลก เช่น เกาะเสม็ด ก็เป็นที่รู้จักแพร่หลายท่ามกลางนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ ฐานเศรษฐกิจที่ ส� ำคัญของจังหวัด คือ เกษตรกรรม การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรม (ส� ำนักงานจังหวัดระยอง, ๒๕๕๔) ต่อมา จังหวัดระยองเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็น จังหวัดอุตสาหกรรม นับตั้งแต่การค้นพบ แก๊สธรรมชาติในอ่าวไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นที่มาของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก (Eastern Seaboard Development Program) ใน พ.ศ. ๒๕๒๔ (ส� ำนักงานจังหวัดระยอง, ๒๕๕๔) รัฐบาล ก� ำหนดนโยบายให้นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและพื้นที่บริเวณใกล้เคียง เป็นที่ตั้งของอุตสาหกรรมขนาด หนัก ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลาง อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นปลาย อุตสาหกรรมโรงกลั่นน�้ ำมัน อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี (กมลศักดิ์ ตรีครุธพันธุ์, ๒๕๔๖ : ๑)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=