สำนักราชบัณฑิตยสภา
รูปแบบการจั ดการท่องเที่ ยวเพื่ อการเสริ มสร้างรายได้ภาคเกษตรกรรมในพื้ นที่ จั งหวั ดระยอง 286 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 ผลการศึกษา พบว่า องค์ประกอบหลักในการจัดการท่องเที่ยวเพื่อการเสริมสร้างรายได้ภาคเกษตรกรรม ๖ ประการ คือ ๑) คน/บุคลากร ที่ใช้ในการต้อนรับ ๒) สถานที่ที่ใช้ในการต้อนรับนักท่องเที่ยว ๓) คุณภาพและ ความเพียงพอของผลผลิตที่ใช้ในการรองรับนักท่องเที่ยว ๔) กิจกรรมและการบริการ และ ๕) การ สนับสนุน/ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเพื่อการเสริมสร้างรายได้ภาคเกษตรกรรมในพื้นที่จังหวัดระยอง สามารถ จ� ำแนกได้ ๓ รูปแบบ ประกอบด้วย ๑) รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเน้นการท� ำงานแบบเครือข่าย/กลุ่ม เป็นรูปแบบที่มีการน� ำทุน ทางสังคม (Social Capital) ที่มีอยู่ในชุมชน มาใช้เป็นกลไกส� ำคัญในการขับเคลื่อนงาน กล่าวคือ ได้มีการน� ำทุนในเรื่องของกลุ่ม/เครือข่าย มาใช้เป็นฐานส� ำคัญต่อการให้บริการนักท่องเที่ยว เช่น การน� ำผลไม้จากสวนที่เป็นสมาชิกมาเสริม การน� ำสินค้า OTOP ของกลุ่ม/ชุมชน เข้ามาขายให้แก่นัก ท่องเที่ยวได้ ทั้งนี้ สวนประเภทนี้จะให้ความส� ำคัญกับสถานที่/พื้นที่ ที่ใช้ในการรองรับนักท่องเที่ยว เช่น บริเวณส� ำหรับนั่งพัก ถ่ายรูป เส้นทางเดินชมสวน ห้องน�้ ำ อีกทั้งยังมีจุดเรียนรู้/ศึกษาดูงาน ส� ำหรับให้บริการนักท่องเที่ยวที่เน้นในเรื่องของการเรียนรู้ทักษะหรือเทคนิคการท� ำการเกษตร ด้วย เหตุนี้ จึงท� ำให้สวนประเภทนี้สามารถที่จะเปิดให้บริการนักท่องเที่ยวได้ทั้งปี (นอกเหนือจากช่วง เทศกาลผลไม้ เมษายน-มิถุนายน) โดยจะมีลูกค้าที่แวะเวียนมาใช้บริการด้วยกันอยู่ ๒ ประเภท คือ ๑) กินผลไม้บุฟเฟต์ และ ๒) เข้ามาศึกษาดูงาน ทั้งนี้ จากการศึกษาสวนต้นแบบที่ประสบความส� ำเร็จ ทั้ง ๖ สวน พบว่าสวนที่สามารถจัดอยู่ในรูปแบบที่ ๑ นี้ มีทั้งหมด ๓ สวน ๒) รูปแบบโฮมสเตย์ “สอดคล้องวิถีชีวิต อิงแอบธรรมชาติ” รูปแบบนี้เน้นการท� ำงานแบบครอบครัว และ/หรือเครือญาติ โดยมีการรวมกลุ่มกันเพื่อเปิดให้บริการที่พัก หรือที่เรียกว่า “โฮมสเตย์” ส� ำหรับ ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยวประเภทที่ต้องการมาเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนชาวสวน ทั้งนี้ สวนในรูป แบบที่ ๒ นี้จะมีเงื่อนไข/ปัจจัยในเรื่องของพื้นที่ที่น้อย จึงท� ำให้มีการรวมกลุ่มกันเพื่อจัดโฮมสเตย์ ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว กลไกส� ำคัญที่ใช้ในการด� ำเนินงาน คือ การมีสวนร่วมของคนในครอบครัว และของกลุ่มโฮมสเตย์ที่พร้อมต่อการให้บริการนักท่องเที่ยว กล่าวคือ มีการจัดพื้นที่ในการให้บริการ (ที่พัก) อย่างเป็นสัดส่วน รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมที่ได้มีการดึงเอาจุดเด่นของชุมชน เช่น ป่าไม้ ภูเขา วัด รวมทั้งสถานที่ส� ำคัญต่าง ๆ ของชุมชน มาจัดเป็นโปรแกรมการท่องเที่ยวไว้ส� ำหรับให้บริการแก่ ลูกค้าที่มาพักโฮมสเตย์ รูปแบบนี้จึงมีลักษณะของกิจกรรมที่หลากหลายและสามารถสัมผัสกับวิถีชีวิต ท้องถิ่นและอิงแอบธรรมชาติอย่างแท้จริง ๓) รูปแบบ “การตลาดเชิงรุก” มีรูปแบบการท� ำงานที่เป็นสวนเดียวเอกเทศ ไม่ได้มีการน� ำสินค้า จากสวนอื่นมาขายในสวนตน เนื่องจากจะเน้นให้ความส� ำคัญในเรื่องของคุณภาพของสินค้า/ผลผลิต ที่สะอาด สด ใหม่ และปลอดภัยต่อผู้บริโภคเป็นหลัก (Fruit Fresh Healthy) อีกทั้งยังมีการค� ำนึง ถึงคุณภาพ และความทั่วถึงในการให้บริการต่อลูกค้า ด้วยเหตุนี้ จึงท� ำให้ศักยภาพในการรองรับ นักท่องเที่ยวของสวนในรูปแบบที่ ๓ นี้ ไม่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวพร้อม ๆ กันได้มากนัก สวน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=