สำนักราชบัณฑิตยสภา
วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเพื่อการเสริมสร้างรายได้ ภาคเกษตรกรรมในพื้นที่จังหวัดระยอง * คมพล สุวรรณกูฏ บทคัดย่อ การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาตัวอย่างที่ประสบความส� ำเร็จของภาค เกษตรกรรมที่เชื่อมโยงกับการจัดการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดระยอง ๒) ศึกษาพื้นที่ศักยภาพและ ประเมินความเป็นไปได้ของตัวอย่างการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างรายได้ภาคเกษตรกรรมโดย การจัดการท่องเที่ยว และ ๓) พัฒนาข้อเสนอเชิงกลยุทธ์ในการเสริมสร้างรายได้ภาคเกษตรกรรม เชิงบูรณาการการท่องเที่ยวจังหวัดระยอง โดยท� ำการศึกษาใน ๓ วิธี คือ ๑) การศึกษาจากเอกสาร (Documentary Study) เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาและการวิเคราะห์ ๒) การศึกษาข้อมูลเชิง ปริมาณ ได้แก่ การประเมินสภาวะอย่างเร่งด่วน (Rural Rapid Appraisal: RRA) การส� ำรวจโดย ใช้แบบสอบถาม (Survey Research) เพื่อศึกษาการตลาดและพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่อง เที่ยวในจังหวัดระยอง และ ๓) การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) เกี่ยวกับนโยบาย/ยุทธศาสตร์ การศึกษารายกรณีศึกษาที่ประสบความส� ำเร็จ (Best Practices) ในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่จังหวัดระยอง จ� ำนวน ๖ กรณีศึกษา การ จัดเวทีประชุมกลุ่มย่อย/สนทนากลุ่ม (Focus Group) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการจัดการท่องเที่ยวเชิง เกษตร โดยมีประเด็นในการระดมความคิดเห็น ได้แก่ แนวทางการประเมินพื้นที่ศักยภาพ รูปแบบที่ เหมาะสมในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวของพื้นที่ศักยภาพ แนวทางในการสนับสนุนจากหน่วย งานที่เกี่ยวข้อง แผนการพัฒนาพื้นที่ศักยภาพให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงการจัดเวทีสัมมนาเชิง ปฏิบัติการ เพื่อประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาข้อเสนอเชิงกลยุทธ์ โดยกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ภาคเกษตรกรรมผู้จัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่ตัวอย่างและพื้นที่ศักยภาพ ภาคอุตสาหกรรม ท่องเที่ยว ภาครัฐ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนายุทธศาสตร์จังหวัด * บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย เรื่อง รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเพื่อการเสริมสร้างรายได้ภาคเกษตรกรรมในพื้นที่จังหวัดระยอง โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คมพล สุวรรณกูฏ และคณะ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากส� ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=