สำนักราชบัณฑิตยสภา

269 นิ พนธ์ ทรายเพชร วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ นั่นคือ เราจะเห็นดาวฤกษ์ปรากฏอยู่ต� ำแหน่งเดิมในเวลาที่เร็วขึ้นวันละ ๔ นาที หรือเร็วขึ้น เดือนละ ๒ ชั่วโมง เช่น ดาวซีรีอัสขึ้นเวลา ๒๐ นาฬิกาในวันที่ ๑ ธันวาคม แต่วันที่ ๑ มกราคมจะขึ้นเวลา ๑๘ นาฬิกา เป็นต้น ในทางปฏิบัติการวัดความยาวของ ๑ วันสุริยคติ อาจวัดได้โดยสังเกตเงาของเสาที่อยู่ใน แนวทิศเหนือ–ใต้ ครั้งแรกถึงครั้งถัดไป นั่นคือต้องมีแนวทิศเหนือ–ใต้ที่ชัดเจน นอกจากนี้ยังอาจวัด ๑ วัน สุริยคติโดยใช้นาฬิกาแดด สรุปผลที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของโลก • ดาวขึ้น–ตก เพราะโลกหมุนรอบตัวเองจากตะวันตกไปตะวันออกรอบละ ๑ วัน • เส้นทางขึ้น–ตกของดาวฤกษ์จะคงที่เหมือนเดิมทุกคืนตลอดชีวิตของเรา แต่จะขึ้นเร็ว หรือมาอยู่ที่เก่าในเวลาที่เร็วขึ้นวันละ ๔ นาที เพราะโลกโคจรอบดวงอาทิตย์ • เส้นทางขึ้น–ตกของดวงอาทิตย์เปลี่ยนไปทุกวัน เพราะแกนที่โลกหมุนรอบเอียงจากแนว ตั้งฉากกับแนวระนาบทางโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์เป็นมุมประมาณ ๒๓.๕ องศา • เส้นทางขึ้น–ตกของดวงจันทร์ดาวเคราะห์เปลี่ยนไปทุกวัน เพราะดวงจันทร์โคจรรอบโลก และดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์ มีดาวอะไรบ้างบนท้องฟ้า ดาวที่เห็นด้วยตาเปล่าบนท้องฟ้า มี ๒ ประเภท คือ ดาวประจ� ำที่ ซึ่งเป็น ดาวฤกษ์ที่เรียงเป็นรูปร่างต่าง ๆ เรียกว่า กลุ่มดาวฤกษ์ เช่น กลุ่มดาวนายพราน กลุ่ม ดาวแมงป่อง; บนทรงกลมฟ้าที่ใหญ่ไพศาล มีกลุ่มดาวทั้งหมด ๘๘ กลุ่ม อีกประเภท หนึ่ง คือ ดาววันเกิด เป็นดาวที่เอามาตั้งเป็น ชื่อวันในสัปดาห์ อาจจะเรียกดาววันเกิด ว่าเป็นดาวเคราะห์โบราณ เพราะในอดีต มนุษย์เชื่อว่า ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ดาวต้นก� ำเนิดวันอาทิตย์ คือดวงอาทิตย์ ซึ่งคนโบราณคิดว่าเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=