สำนักราชบัณฑิตยสภา
267 นิ พนธ์ ทรายเพชร วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ การสาธิตว่าโลกเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์รอบละ ๑ ปีท� ำให้เห็นดาวฤกษ์ขึ้นเร็วขึ้นวันละประมาณ ๔ นาที โลกหมุนรอบตัวเองรอบละ ๑ วัน และเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์รอบละ ๑ ปี โดยเคลื่อน ไปในทิศทางเดียวกันคือจากตะวันตกไปตะวันออก โลกหมุนรอบตัวเองท� ำให้เกิดปรากฏการณ์ขึ้น–ตก ดังได้สาธิตแล้ว โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ท� ำให้เห็นดาวฤกษ์ขึ้นเร็ววันละประมาณ ๔ นาที หรือเดือนละ ๒ ชั่วโมง วิธีอธิบายหรือสาธิตเรื่องนี้มี ๒ วิธี คือ - อธิบายจากโลก ๔ ต� ำแหน่งรอบดวงอาทิตย์ ไกลจากระยะดวงอาทิตย์กว่า ๒๖๐, ๐๐๐ เท่าเป็นดาวฤกษ์ดวงที่อยู่ใกล้โลกที่สุด ดาวฤกษ์ ดวงอื่น ๆ จึงอยู่ไกลโลกและดวงอาทิตย์มากกว่านี้ สมมติมีดาว ๔ ดวง คือ 1, 2, 3, 4 อยู่บนระนาบทาง โคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ โดยเมื่อโลกอยู่ต� ำแหน่ง ก จะเห็นว่าดวงอาทิตย์ปรากฏอยู่ทาง 1 เมื่อโลก อยู่ ณ ต� ำแหน่ง ข, ค, ง ดวงอาทิตย์ปรากฏอยู่ทาง 2, 3, 4 ตามล� ำดับ ดูจากเหนือระนาบทางโคจรของโลก จะเห็นขั้วโลกเหนือ ( ) เยื้องไปทางขวามือ แสดงว่า ณ ต� ำแหน่ง ง ขั้วโลกเหนือเบนเข้าหาดวงอาทิตย์ เส้นแบ่งกลางวันกลางคืนผ่านเลยขั้วโลกเหนือ ท� ำให้บริเวณขั้วโลกเหนือมีเพียงกลางวันเท่านั้น ณ ต� ำแหน่ง ข ขั้วโลกเหนือเบนออกจากดวงอาทิตย์ เส้นแบ่งกลางวันกลางคืนผ่านไม่ถึงขั้วโลกเหนือ ท� ำให้บริเวณ ขั้วโลกเหนือมีกลางคืน โดยไม่มีเวลากลางวันเลย ส่วนต� ำแหน่ง ก และ ค โลกหันด้านข้างเข้าหาดวงอาทิตย์ เส้นแบ่งกลางวันกลางคืนผ่านทั้งขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ ท� ำให้กลางวันยาวเท่ากับกลางคืน โลก ๔ ต� ำแหน่งรอบดวงอาทิตย์เมื่อมองจากเหนือระนาบทางโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ คือ ขั้วโลกเหนือ ดาวฤกษ์ ๔ ดวงอยู่ไกลจากระบบโลก – ดวงอาทิตย์มาก (รูปไม่เป็นไปตามสัดส่วน ที่แท้จริง)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=