สำนักราชบัณฑิตยสภา
265 นิ พนธ์ ทรายเพชร วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ ของจุดเหนือศีรษะ φ องศา เมื่อ φ เป็นละติจูดของผู้สังเกตบนโลก ขั้วฟ้าเหนือ เป็นจุดที่แกนโลกด้าน ที่ผ่านขั้วโลกเหนือชี้ไปบนฟ้า ปัจจุบันใกล้จุดนี้มีดาวเหนือปรากฏอยู่ ขั้วฟ้าเหนือจึงอยู่สูงจากขอบฟ้าทิศ เหนือเป็นมุม φ องศา (เส้นที่ลากจากตาไปในแนวที่ขนานกับเส้นต่อของแกนหมุนของโลกจะไปพบกันที่ ขั้วฟ้าเหนือ) ๔. เกิดอะไรขึ้นเมื่อโลกหมุนรอบตัวเองรอบละ ๑ วัน โลกหมุนรอบตัวเองตลอดเวลาไม่เคยหยุด โลกหมุนรอบตัวเองไปทางทิศตะวันออกรอบละ ๑ วัน ท� ำให้เกิดปรากฎการณ์ ๓ อย่างคือ - การขึ้น–ตกของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวทั้งหลาย - เกิดทิศ - กลางวัน (เริ่มตั้งแต่ ดวงอาทิตย์ขึ้น ถึงดวงอาทิตย์ตก) กลางคืน (เริ่มตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตก ถึงดวงอาทิตย์ขึ้น) เมื่อโลกหมุนจากตะวันตกไปตะวันออก เราไปด้วยพร้อมกับท้องฟ้า ขณะที่ขอบฟ้าตะวันออก สัมผัสดาว เรียกว่า ดาวขึ้น เมื่อขอบฟ้าตะวันตกพบดาว เรียกว่า ดาวตก เมื่อเมริเดียนสัมผัสดาวคือ ต� ำแหน่งที่ดาวอยู่สูงสุดจากขอบฟ้า เรียก ทรานสิต ถ้าเห็นดาวผ่านเมริเดียนไปทางตะวันตกเรียกว่า ทรานสิทบน ถ้าเห็นดาวผ่านเมริเดียนไปทางตะวันออก (ต�่ ำกว่าดาวเหนือ) เรียกว่า ทรานสิตล่าง จะเห็นได้ว่าทุกอย่างในอวกาศนอกโลก ขึ้น–ตก เพราะโลกหมุนรอบตัวเอง ดาวไม่เคลื่อนที่อย่างที่ตาเห็น ดาวไม่ได้เคลื่อนรอบโลกจากตะวันออกไปตะวันตกรอบละ ๑ วัน แต่โลกหมุนในทิศตรงข้ามโดยเอา ขอบฟ้าไปพบดาว และเพราะการพาขอบฟ้าตะวันตกไปพบดวงอาทิตย์ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตก จึงเกิดขึ้น บนโลกมีทิศตะวันตก–ตะวันออกก็เพราะเหตุนี้นั่นเอง ถ้าโลกไม่หมุนรอบตัวเอง ดวงดาวจะ ไม่ขึ้น–ตก เช่นเดียวกับเมื่ออยู่ในอวกาศไกลออกไปก็จะไม่เห็นการขึ้น–ตกของดวงดาว แต่จะเห็นดาว อยู่รอบตัวของเรา เห็นดาวอยู่บนผิวทรงกลมฟ้า ๕. ดาวขึ้น–ตกในประเทศไทย เมื่อขอบฟ้าด้านตะวันออกสัมผัสดวงดาวเรียกว่า ดาวขึ้น และเมื่อขอบฟ้าด้านตะวันตกสัมผัส ดวงดาวเรียกว่า ดาวตก ถ้าดาวขึ้นตรงจุดทิศตะวันออกพอดีจะไปตกตรงจุดทิศตะวันตกพอดี โดยมีเส้น ทางขึ้น–ตกเป็นเส้นศูนย์สูตรฟ้า ช่วงเวลาตั้งแต่ขึ้นถึงตกยาว ๑๒ ชั่วโมง ต� ำแหน่งที่เส้นศูนย์สูตรฟ้า ผ่านเมริเดียนจะอยู่ทางใต้ของจุดเหนือศีรษะเท่ากับละติจูดของผู้สังเกต เช่น ตอนกลางของประเทศไทย มีละติจูด ๑๕ องศาเหนือ เส้นศูนย์สูตรฟ้าจะผ่านเมริเดียน ณ มุมเงย ๗๕ องศาเหนือขอบฟ้าทิศใต้ เส้นทางขึ้น-ตกจึงเอียงเป็นมุม ๑๕ องศา กับเส้นตั้งฉากกับขอบฟ้า เส้นทางขึ้น–ตก ณ จุดอื่น ๆ จะขนาน กับเส้นศูนย์สูตรฟ้า โดยมีระยะเวลาอยู่บนท้องฟ้าสั้นลงกว่า ๑๒ ชั่วโมงในกรณีที่ขึ้นเฉียงไปทางใต้ แต่ถ้าขึ้น เฉียงไปทางเหนือจะอยู่บนท้องฟ้านานกว่า ๑๒ ชั่วโมง ดาวเหนืออยู่สูงจากขอบฟ้าทิศเหนือเป็นมุมเท่ากับ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=