สำนักราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ การดูดาว สนุก น่าสนใจ ได้ความรู้ นิพนธ์ ทรายเพชร* ราชบัณฑิต ส� ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน บทคัดย่อ การดูดาวเป็นคือการรู้จักท้องฟ้าและดวงดาวบนท้องฟ้า โดยเฉพาะดาวที่ปรากฏสว่าง มาก ๆ และกลุ่มดาวเด่น การที่โลกหมุนรอบตัวเองท� ำให้เกิดปรากฏการณ์ขึ้นตกของดวงดาว ท� ำให้ เกิดทิศ ท� ำให้เกิดกลางวันกลางคืน ส่วนโลกเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์ท� ำให้เห็นดาวขึ้นเร็วขึ้นทุกวัน วันละประมาณ ๔ นาที หรือเดือนละ ๒ ชั่วโมง บนท้องฟ้ามีดาวที่เป็นต้นก� ำเนิดของชื่อวัน และ คนไทยตั้งชื่อเดือนสุริยคติตามชื่อกลุ่มดาวจักรราศี สิ่งที่อยู่บนท้องฟ้ามีความสวยงามทั้งที่เห็นด้วย ตาเปล่า และภาพที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์ ค� ำส� ำคัญ : ท้องฟ้า, การขึ้น-ตกของดาว, ดาววันเกิด, ดาวเดือนเกิด, กลุ่มดาวฤดูหนาว, กลุ่มดาว ฤดูร้อน, ดาวฤกษ์, เนบิวลา, กาแล็กซี, เอกภพ * ราชบัณฑิต สาขาวิชาดาราศาสตร์, ผู้เชี่ยวชาญ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อารัมภบท ๑. ชื่อเรื่อง มีหมายความว่า เมื่อดูดาวเป็นแล้วจะสนุก เรื่องน่าสนใจ เต็มไปด้วยความรู้ การดูดาวให้เป็นคือ การรู้จักท้องฟ้า รู้จักสิ่งที่อยู่บนท้องฟ้า โดยเฉพาะดาวที่อยู่ใกล้ ๆ โลก เข้าใจ ผลที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของโลก เมื่อดูดาวเป็นก็จะคุ้นเคยกับดวงดาวบนฟ้า ไปที่ไหนก็ไม่หลงทาง รุู้จัก ที่อยู่ของตนในโลก และมีเพื่อนเป็นดาวเต็มฟ้า ๒. ท้องฟ้าคือส่วนเบื้องบนที่ครอบแผ่นดินอยู่ เป็นสิ่งที่มองเห็นเป็นรูปครึ่งทรงกลมกลวงคล้าย สุ่ม หรือ กระทะคว�่ ำโดยผู้มองอยู่ที่จุดศูนย์กลางของครึ่งทรงกลม ระดับต�่ ำสุดของท้องฟ้าเรียกว่า ขอบฟ้า อยู่รอบ ๆ ตัวเรา เป็นระดับสายตาที่ยืนมองไปตรง ๆ ขอบฟ้าของคนที่อยู่บนพื้นโลกและคนที่อยู่บนตึกสูง ๑๐๐ ชั้น เป็นขอบฟ้าเดียวกันเพราะระยะระหว่างพื้นโลกกับชั้นที่ ๑๐๐ ของตึกสั้นมากเมื่อเทียบกับระยะ จากผู้สังเกตถึงขอบฟ้า เส้นขนานกันที่ผ่านตาของผู้สังเกตบนพื้นโลกกับคนที่อยู่บนชั้นที่ ๑๐๐ ของตึกไป ตัดกันที่ระยะอนันต์คือ ขอบฟ้า ขอบฟ้าของคนที่อยู่บนละติจูดเดียวกันแต่อยู่คนละซีกโลกก็เป็นขอบฟ้า เดียวกัน เพราะโลกเล็กมากเมื่อเทียบกับท้องฟ้า

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=