สำนักราชบัณฑิตยสภา

ความคลาดเคลื่ อนของวั นสงกรานต์ ผลวิ จั ยเชิ งคณิ ตศาสตร์ 262 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 ๑ ปี ให้มีค่าเท่ากับปีฤดูกาล (Tropical year) ซึ่งเป็นแนวคิดของปฏิทินแบบสุวรรณภูมิแล้ว (มีค่าประมาณ ๓๖๕.๒๔๒๑๙ วัน) เราจะรักษาให้วันสงกรานต์ตรงกับวันที่ ๑๔ เมษายน ตามปฏิทินสากลได้ตลอดไป อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนในลักษณะนี้ วันสงกรานต์ที่ ๑๔ เมษายน จะเป็นเพียงสัญลักษณ์เท่านั้น เพราะวันขึ้นปีใหม่ทาง Tropical year ได้ย้ายกลับไปวันเดิม ที่เริ่มการท� ำรังวัด ๖๐ ปี ก่อนปีจุลศักราช ซึ่ง ตรงกับวันวสันตวิษุวัต (vernal equinox) หรือประมาณวันที่ ๒๑ มีนาคมของทุกปี การเคลื่อนไปของวันส� ำคัญวันอื่น ๆ การเคลื่อนไปของวันสงกรานต์ที่กล่าวมานี้ เป็นการยกตัวอย่างเพียงเทศกาลเดียวเท่านั้น เนื่องจากสังเกตได้ชัดเจน ในความเป็นจริง วันส� ำคัญทางพุทธศาสนาก็ได้เคลื่อนไปด้วย เพียงแต่วันเหล่า นั้นไม่เป็นที่จดจ� ำ ในทางสุริยคติ เช่น วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค�่ ำ เดือน ๖ (เดือน ๗ ในปีอธิกมาส) มิได้จดจ� ำว่า ประมาณวันที่ ๑๐ พฤษภาคม แต่หากเทียบกับเมื่อเวลาผ่านไปหลายพันปี จึงเห็นความแตก ต่างที่ชัดเจน เช่น สมัยพุทธกาล ที่วันวิสาขบูชามักตกอยู่ในเดือนเมษายน ขณะที่ปัจจุบันมักตกอยู่ในเดือน พฤษภาคม เอกสารอ้างอิง Chunpongtong, Loy (2008) , ปฏิทินไทย เชิงดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ ฉบับพิมพ์ที่ ๒ กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ISBN 978-9747444- 24-7 , ๒๙๖ หน้า Yod-intara, Samai and associates (2012), งานวิจัยจากข้อมูลเชิงคุณภาพเกี่ยวกับข้อขัดแย้ง เรื่อง การเป็นหรือไม่เป็นปีอธิกมาสของปฏิทินจันทรคติไทย พ.ศ. ๒๕๕๕ เชียงใหม่ : คณะวิทยาศาสตร์ มหาลัยวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๓๘ หน้า

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=