สำนักราชบัณฑิตยสภา
259 ลอย ชุนพงษ์ทอง วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ วันสงกรานต์ในช่วงปีกึ่งศตวรรษหลัง (พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๖๐๐) วันสงกรานต์ตกอยู่ประมาณวันที่ ๑๔ เมษายน วันเนาตกอยู่ประมาณวันที่ ๑๕ เมษายน อย่างไรก็ตาม มีโอกาส ๑ ใน ๖ ที่มีจะวันเนา ๒ วัน วันเถลิงศกตกอยู่ประมาณวันที่ ๑๖ เมษายน หรือ ๑๗ เมษายน หากมีวันเนา ๒ วัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ค� ำถามคือ เรายังควรก� ำหนดหยุดราชการในวันที่ ๑๓-๑๕ เมษายน อีกต่อไปหรือไม่? และ หากต้องการเปลี่ยน ควรก� ำหนดกฎเกณฑ์วันหยุดสงกรานต์อย่างไร? ประเด็นเรื่องการหยุดเทศกาลสงกรานต์ และเถลิงศก ตามที่มีข้อถกเถียงเรื่องการการเปลี่ยนวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ ในสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ใน พ.ศ. ๒๕๕๑ ผู้เขียนขอให้ความเห็น เป็นทางเลือกในแบบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ แบบที่ ๑ ใช้วันสงกรานต์เป็นเกณฑ์ เปลี่ยนวันหยุดตามการค� ำนวณวันสงกรานต์ เช่น ค� ำนวณได้วันที่ ๑๔ ก็น� ำวันที่ ๑๔ มาใช้ ใน ปฏิทินราชการ และนับต่อไป ๒ วัน เพื่อให้เป็นวันหยุด หากถือตามนี้ ถือว่าใช้ความส� ำคัญกับวันสงกรานต์ ตามประเพณีมากกว่าวันเถลิงศก แบบนี้อาจสร้างความไม่พอใจให้แก่ชาวไทยภาคเหนือ ที่ให้ความส� ำคัญ แก่วันท� ำบุญมากกว่าวันรดน�้ ำด� ำหัว และสรงน�้ ำพระ แบบที่ ๒ ใช้วันเถลิงศกเป็นเกณฑ์ เปลี่ยนวันหยุดตามการค� ำนวณวันเถลิงศก เช่น ค� ำนวณได้วันที่ ๑๖ ก็น� ำวันที่ ๑๖ มาใช้ ใน ปฏิทินราชการ ท� ำบุญกันวันที่ ๑๖ และนับย้อนลงไป ๒ วันเพื่อให้เป็นวันหยุด หากเป็นเช่นนี้ จึงควรเรียก ชื่อเทศกาลนี้เสียใหม่ว่า เทศกาลเถลิงศก มิใช่ เทศกาลสงกรานต์ มิฉะนั้นจะเกิดความสับสนว่า ในปีที่มี วันเนา ๒ วัน จึงไม่หยุดในวันสงกรานต์ และอาจสร้างความไม่พอใจให้กับชาวไทยภาคกลางและภาคใต้ ที่ยังคงยึดถือประเพณีแห่งนางสงกรานต์ และสรงน�้ ำพระ ในวันสงกรานต์ตามการค� ำนวณทางโหราศาสตร์ แบบที่ ๓ ใช้กึ่งกลางของวันเนาเป็นเกณฑ์ โดยการค� ำนวณเวลากึ่งกลางของเทศกาล ระหว่างเวลาสงกรานต์กับเวลาเถลิงศก และให้หยุด ในวันก่อนหน้า วันดังกล่าว และวันที่ตามมา แบบนี้เป็นทางสายกลางของแบบที่ ๑ และ ๒ โดยหยุดเพียง ๓ วันเท่าเดิม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=