สำนักราชบัณฑิตยสภา
ความคลาดเคลื่ อนของวั นสงกรานต์ ผลวิ จั ยเชิ งคณิ ตศาสตร์ 256 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 ความคลาดเคลื่อนของ วันสงกรานต์ การค� ำนวณวันสงกรานต์ตามประเพณีของไทยนั้น ก� ำหนดให้ ๑ ปีมี ๓๖๕.๒๕๘๗๕ วัน เนื่องจาก อ้างอิงการกลับมาของดวงอาทิตย์สู่ที่ต� ำแหน่งราศีเดิม ในทางดาราศาสตร์เรียกว่า Sidereal year ในขณะ ที่วันหยุดราชการอ้างอิงจากปฏิทินสากลเกรกอรี (Gregoriy) ที่มีจ� ำนวนวันใน ๑ ปีเท่ากับ ๓๖๕.๒๔๒๕ วัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ทุกปีวันสงกรานต์จะเลื่อนไป ๐.๐๑๖๒๕ วัน หรือ เลื่อนไป ๑ วันทุก ๆ ๖๑.๕๔ ปี โดย เฉลี่ย ท� ำไมบางปี จึงมีวันเนาได้ ๒ วัน เวลาเถลิงศก อยู่ห่างจากเวลามหาสงกรานต์ ๒ วัน ๔ ชั่วโมง มิใช่ ๒ วันพอดี ดังนั้นหากเวลา สงกรานต์ เกิดขึ้นที่เวลา ๒๓ น.ของคืนวันจันทร์ เวลาเถลิงศกก็จะเกิดที่เวลา ๕ น.ของวันพฤหัสบดี เมื่อ เป็นเช่นนี้ วันอังคารและพุธจึงเป็นวันเนา ที่อยู่ตรงกลาง มีโอกาสเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ๔/๒๔ หรือ ๑ ใน ๖ ความขัดแย้งในการก� ำหนดวันหยุดสงกรานต์และเถลิงศก ผู้เขียนขอยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น ใน พ.ศ. ๒๕๕๖ เวลาขึ้นปีใหม่ไทย หรือเวลา เถลิงศก คือ ๕:๕๖:๒๔ น. ของวันที่ ๑๖ เมษายน แบบนี้โหรทางอินเดีย ไทยลื้อ ไทยล้านนา และตามต� ำรา โหรส่วนมาก ถือว่าเป็นวันที่ ๑๕ เมษายน เพราะเลยเวลาเที่ยงคืนของท้องถิ่นมาแล้ว ขณะที่กลุ่มโหรอีก ส่วนหนึ่งและโหรหลวง ยังไม่ถือว่าเป็นรุ่งเช้าของวันใหม่ ยังคงถือว่าเป็นคืนของวันที่ ๑๕ เมษายน เพราะ ใช้เวลาเฉลี่ยที่ดวงอาทิตย์ขึ้น หรือ ๖ โมงเช้าของเวลาท้องถิ่นของเมืองหลวง เป็นเวลาเปลี่ยนวันใหม่ ในข้อที่ว่า ๖ โมงเช้าของเวลาท้องถิ่นของเมืองหลวง ส� ำหรับประเทศไทย รัชกาลที่ ๔ ทรงก� ำหนด ไว้ที่ เวลา ๖:๐๐ น. ของเส้นลองจิจูด ๑๐๐ องศาตะวันออก แต่หลังจากที่ประเทศไทยเปลี่ยนไปใช้เส้น ๑๐๕ องศาที่จังหวัดอุบลราชธานีเป็นเกณฑ์ก� ำหนดเวลา เวลาราชการจึงเร็วขึ้นกว่าเดิม ๒๐ นาที เวลา เปลี่ยนวันใหม่ของปฏิทินไทยจึงเป็นเวลา ๖:๒๐ น. ผลการค� ำนวณวันสงกรานต์ และวันเถลิงศก ผู้เขียนแสดงผลการค� ำนวณ มีเกณฑ์แบ่งวัน ทั้ง ๒ แบบ เพื่อเปรียบเทียบกัน ตัวเลขที่ปรากฏ ในช่องวันเนา คือ จ� ำนวนวันเนา ที่แทรกอยู่ตรงกลาง ระหว่างวันสงกรานต์กับวันเถลิงศก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=