สำนักราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ ความคลาดเคลื่อนของวันสงกรานต์ ผลวิจัยเชิงคณิตศาสตร์ ลอย ชุนพงษ์ทอง* วันส� ำคัญ ในเทศกาลสงกรานต์ วันสงกรานต์ในที่นี้ หมายถึงวันมหาสงกรานต์ คือวันที่เชื่อกันตามประเพณีว่า เป็นวันที่ดวง อาทิตย์เริ่มเคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ คนไทยแต่โบราณนิยมรดน�้ ำด� ำหัวพระและผู้อาวุโส ต่อมาจึงจัดให้เป็น วันผู้อาวุโส วันถัดมามีชื่อว่า วันเนา หรือวันขนทรายเข้าวัด วันที่ครอบครัวร่วมมือกันท� ำความสะอาดบ้าน เรือน ต่อมาจึงจัดให้วันที่ ๒ นี้ เป็นวันครอบครัว วันที่ ๓ คือวันเถลิงศก หรือ วันปีใหม่ วันเริ่มจุลศักราชใหม่ เป็นวันท� ำบุญตักบาตรปีใหม่ครั้งใหญ่ ในทางปฏิทิน เวลาเถลิงศก มีความส� ำคัญกว่า เวลามหาสงกรานต์ เนื่องจากเป็นเวลาก� ำหนดปีใหม่ ศกใหม่ ปัจจุบันคณะรัฐมนตรีได้จัดวันหยุดราชการให้ตรงกับวันที่ ๑๓-๑๕ เมษายน ความหมายของวันสงกรานต์ทางดาราศาสตร์ เมื่อค� ำนวณเวลาประกาศมหาสงกรานต์ย้อนไปจนถึงรอบปีที่ก่อตั้งจุลศักราช ท� ำให้เชื่อว่า ตรง กับวันวสันตวิษุวัต หรือวันเริ่มฤดูใบไม้ผลิของซีกโลกเหนือ (vernal equinox) ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวัน ออก และตกทางทิศตะวันตกพอดี วันสงกรานต์โดยก� ำเนิดแล้ว จึงเป็นวันเปลี่ยนผ่าน เป็นทั้งวันสิ้นปี และ วันเริ่มปีใหม่ ส่วนเวลาประกาศมหาสงกรานต์ ก็คือวินาทีที่จุดศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ ตัดกับเส้นศูนย์สูตร ฟ้า ในขณะที่เคลื่อนจากซีกฟ้าใต้ มาสู่ซีกฟ้าเหนือ คืออยู่ที่รอยต่อของราศีมีนกับราศีเมษ ดังรูป * ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ; ที่ปรึกษาการค� ำนวณปฏิทินหลวง ส� ำนักพระราชวัง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=