สำนักราชบัณฑิตยสภา
253 เลิ ศศิ ริ ร์ บวรกิตติ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ การประเมิน จากการอภิปรายและการวาดแสดงความรู้เกี่ยวกับสัตว์ทั้งรูปร่าง ท่าทาง เสียงร้อง รวมถึงสถาน ที่อยู่อาศัย ท� ำให้เด็กรู้จักสัตว์ชนิดนั้น ๆ จากเวลาที่ใช้ไปในการวาดภาพสัตว์บนสนามเด็กเล่น เด็กได้ทราบความรู้เกี่ยวกับสัตว์ ชนิดนั้น ๆ ให้เด็กศึกษาต่อยอดโดยให้สร้างหน้ากากหรือเครื่องแต่งกายเป็นสัตว์ และให้เด็กเขียนบทละคร เกี่ยวกับสัตว์ แล้วแสดงให้เด็กกลุ่มอื่นชม การให้แสดงออกประสบการณ์โดยตรงทันควันเป็นกิจกรรมจูงใจ ด้านศิลปกรรม สรุป ผู้นิพนธ์ บทความนี้ (ดร.แอนเดอร์สัน) ได้แสดงกิจกรรมการเรียนรู้ที่โยงวิทยาศาสตร์กับศิลปกรรม ศาสตร์เข้าด้วยกัน เช่น การศึกษาเรื่องแสงสว่าง (ความโปร่งใส และกึ่งโปร่งใส) โดยการสร้างกระจกสี หน้าต่าง การผลิตภาพศิลปกรรมปะติดจากวัสดุธรรมชาติเก็บจากภาคสนาม การสอนให้เรียนรู้จักสัตว์ ในห้องเรียน แล้วออกไปวาดรูปสัตว์ตามมโนภาพบนพื้นสนาม ผู้นิพนธ์อ้างเอกสารประกอบการเรียบเรียง ๑๒ ชิ้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=