สำนักราชบัณฑิตยสภา
251 เลิ ศศิ ริ ร์ บวรกิตติ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ การประเมินผล ผลลัพธ์ศักย์ : ๑. เก็บวัสดุธรรมชาติได้หลายชิ้น ๒. เรียนรู้การจัดแยกประเภทจากรูปร่าง สี ผิว พรรณ ขนาด และสัณฐาน ๓. เรียนรู้ชื่อวัสดุธรรมชาติ ๔. ได้ท� ำงานศิลปะแบบใช้วัสดุธรรมชาติ ๕. รู้จัก การติดวัสดุ ๖. ติดวัสดุได้ดีไม่เหลือช่องว่างบนฉากมากไป เด็กแต่ละคนควรมีโอกาสแสดงผลงานในชั้นเรียน ร่วมอภิปรายวัสดุชนิดต่าง ๆ ด้านชื่อ ความ เหมือนและความแตกต่าง ร่วมอภิปรายว่าเด็กแต่ละคนแก้ปัญหาด้านการติดวัสดุโดยไม่เหลือช่องว่างมาก เกินไปได้อย่างไร ควรจัดแสดงผลงานและอภิปรายด้านดีของงาน การศึกษาสัตว์ การค้นคว้าเรียนรู้สัตว์ชนิดต่าง ๆ อยู่ในหลักสูตรวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ให้เด็กรู้จักสัตว์จ� ำเพาะชนิดว่า หน้าตาเป็นอย่างไร เคลื่อนไหวอย่างไร เสียงร้องอย่างไร ที่อยู่อาศัยเป็นอย่างไร กินอาหารอะไร มีศัตรูอะไรบ้าง ศึกษาสัตว์ชนิดที่พบในโลกไม่ใช่สัตว์ในนิยาย ตัดสินใจการเป็นแหล่งอาหารแก่มนุษย์ และเรียนรู้โซ่ อาหาร เรียนรู้สัตว์ในสนามเด็กเล่น ใช้วัสดุต่อไปนี้ - ดินสอแป้งสีต่าง ๆ - สนามเด็กเล่นพื้นสีด� ำหรือคอนกรีตที่ให้วาดเขียน - สถานที่โล่งแจ้ง อากาศอบอุ่น การจูงใจ ก่อนออกไปที่สนาม ให้เด็กเลือกชนิดสัตว์ตามรายชื่อ และแสดงการเดินของสัตว์ที่เลือก วิธีการปฏิบัติ ให้เด็กออกไปที่พื้นที่จัดสรรไว้ให้ ให้วาดสัตว์ที่รู้จักพร้อมที่อยู่อาศัย (รูปที่ ๗) แล้วพาเด็กทั้งกลุ่ม ไปชมผลงานของแต่ละคน และอภิปราย (รูปที่ ๘) รูปที่ ๗ ภาพเด็กอายุ ๙ ปี ก� ำลังวาดรูปม้าลาย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=