สำนักราชบัณฑิตยสภา

ศิ ลปะกั บวิ ทยาศาสตร์ 250 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 การดัดแปลง ส� ำหรับเด็กปัญญาอ่อน : ให้ชี้บอกความแตกต่างและใช้ถ้อยค� ำแนะน� ำ เช่น ความแตกต่างระหว่าง ใบไม้ หญ้า เปลือกไม้ เปรียบเทียบชนิดใบไม้ที่คล้ายกัน การท� ำงานศิลปะที่ง่ายหรือยากซับซ้อนขึ้นอยู่กับ ความต้องการของครูผู้สอน เด็กเรียนรู้ช้า : อาจต้องใช้วิธีก� ำหนดโครงสร้างที่ชัดเจน ถ้าไม่ได้จัดภาคสนาม ต้องน� ำวัสดุ ธรรมชาติมาที่ชั้นเรียน แล้วอภิปรายกันว่าจะใส่ซีกซ้ายซีกขวา ข้างบนข้างล่างอย่างไร เด็ก ๆ อาจชอบ รูปร่างแบบที่เป็นจริงมากกว่าการใช้วัสดุธรรมชาติ การใช้วัสดุที่มีความเด่นชัดเจนจะช่วยให้เด็กสามารถ แยกโดยรูปร่างจากพื้นฉาก เด็กปัญหาพฤติกรรม/อารมณ์รุนแรง : การออกภาคสนามอาจช่วยกระตุ้นเด็กที่หดหู่มาก เมื่อเด็กได้รับผิดชอบให้เลือกเก็บวัสดุโดยตัวเอง ก� ำหนดกติกาและขอบเขตว่าเก็บวัสดุอย่างไร และให้ดูแล สิ่งแวดล้อมด้วย ส� ำหรับเด็กกลุ่มนี้ควรใช้กระดาษแข็งแผ่นใหญ่ และท� ำงานเป็นกลุ่ม และบอกให้อดทนกับ การติดวัสดุก่อนกาวแห้ง เพราะวัสดุบางชิ้นต้องให้เวลาในการติด การบอกอาจช่วยไม่ให้เด็กเกิดอารมณ์เสีย เด็กพิการทางกาย : ต้องจัดวางแผ่นกระดาษแข็งไว้กับที่ไม่ให้ขยับเขยื้อนง่าย เมื่อเด็กต้องการ ย้ายต� ำแหน่งวัสดุที่วางลง ก็ใช้ไม้สั้น ๆ เขี่ยขยับไปในต� ำแหน่งที่ต้องการ และอาจท� ำให้เสร็จทีละส่วนก็จะ ท� ำให้ง่ายขึ้น เด็กพิการทางการได้ยิน : นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ให้ย�้ ำความหมายของค� ำ “คล้าย” “แตกต่าง” และ “เหมือน” และแสดงปัญหาเกี่ยวกับน�้ ำหนักของวัสดุที่ติดบนกระดาษแข็ง บอกชื่อใบไม้ และต้นไม้ เมื่ออภิปรายเหตุและผลจะช่วยกระตุ้นความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ และด้านภาษา เด็กพิการทางสายตา : ต้องวางแผนการเดินทางเป็นพิเศษ น� ำวัสดุที่จะให้เก็บมาให้พิจารณาเรียน รู้ก่อนเดินทาง ใช้กระดาษแข็งขนาดใหญ่ท� ำนองเดียวกันกับเด็กพิการทางการได้ยิน เด็กในกรณีนี้ต้องคอยเวลาให้กาวแห้ง ควรให้เด็กท� ำจากซ้ายไปขวา เพื่อไม่ให้วัสดุที่ติดไว้ก่อน ถูกดันให้หลุดไป และควรรอให้การติดแต่ละชิ้นแห้งดีเสียก่อนท� ำชิ้นต่อไป รูปที่ ๖ ภาพแผ่นงานศิลปกรรมแผ่นปะ เตรียมโดยเด็ก ชายตาบอดอายุ ๑๔ ปี

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=