สำนักราชบัณฑิตยสภา
ศิ ลปะกั บวิ ทยาศาสตร์ 246 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 หน้าต่าง : ความสว่างใสผ่านกระจก เป้าหมาย/เหตุผล กิจกรรมนี้เป็นบทเรียนศิลปะเพื่อเข้าสู่การค้นพบ การสอบถาม และการส� ำรวจ โดยอาศัยแนวคิด ทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานเป็นศูนย์ส� ำคัญ โดยตั้งโจทย์ให้เด็กคิดค้นวิธีสกัดกั้นแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ การ ค้นพบอาจน� ำไปสู่การอภิปรายความหมายค� ำ “โปร่งใส” และ “กึ่งโปร่งใส” และการเรียนรู้ธรรมชาติของ กระดาษชนิดต่าง ๆ (รูปที่ ๓ และ ๔) การท� ำแผ่นกระดาษชั้นไขดินสอสี ท� ำให้เด็กได้เรียนรู้ว่าความร้อนมีผลต่อดินสอเทียน โดยขี้ผึ้งจะ ละลายและผสมกันเป็นสีใหม่ นอกจากนี้ยังเรียนรู้ว่าสีอาจแปรเปลี่ยนเมื่อซ้อนกระดาษเยื่อสีหรือกระดาษ แก้วสี อนึ่ง การวัดพื้นที่เป็นสิ่งจ� ำเป็นเมื่อต้องการให้ปกคลุมพอดี วัสดุที่ใช้ในกิจกรรม -เศษกระดาษแก้วสีต่าง ๆ -ดินสอเทียนที่ช� ำรุดใช้เขียนไม่ได้แล้ว -เตารีด -เทปเหนียว -กระดาษหนังสือพิมพ์เก่า -ตัวหนีบ -ไม้บรรทัด -กรรไกร ที่ขูดผัก หรือมีดทื่อ -กระดาษเยื่อสีขนาดต่าง ๆ -หน้าต่างกระจกที่จะปิด การจูงใจ สถานการณ์ในห้องเรียนที่หน้าต่างใสให้แสงสว่างผ่านมากไป การแก้ไขโดยติดม่านก็จะตัดแสง มากไป ต้องหาวิธีอื่น เช่น ใช้กระดาษปะปิดกระจกหน้าต่าง ท� ำแว่นตากันแดด วิธีให้เรียนรู้แสงสว่างทาง วิทยาศาสตร์คือ จัดเตรียมดินสอเทียน และถาดร้อน ให้นักเรียนส� ำรวจรู้ว่าเมื่อดินสอเทียนถูกความร้อน จะเกิดผลอย่างไร การศึกษาเรื่องแสงสว่างในห้องเรียนได้เกิดบทอภิปรายความแตกต่างระหว่างความ “สว่างใส” กับ “ทึบ”, เรียนรู้เรื่องภาพวาดแบบอียิปต์ (Egyptian encaustic painting) ที่ใช้สีฝุ่นในขี้ผึ้งเหลว, การ ใช้กระดาษเยื่อหรือกระดาษแก้วสี หรือการใช้เศษกระจกสี
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=