สำนักราชบัณฑิตยสภา
ศิ ลปะกั บวิ ทยาศาสตร์ 244 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 สิ่งที่กล่าวมาเหล่านี้เกิดขึ้นได้เช่นกันทางศิลปกรรม เช่น เมื่อเด็กจับพู่กันหรือดินสอสีเขียนวาด บนแผ่นกระดาษ นั่นคือการประดิษฐ์คิดค้น เมื่อเด็กเลือกใช้ศิลปะวัสดุหลายชิ้นที่มอบให้ นั่นคือความสนใจ ด้านการส� ำรวจ และเด็กที่พยายามผสมสร้างสีเมื่อยังไม่ถูกใจ นั่นคือการยอมรับความผิดพลาด และความ ไม่ยอมล้มเลิก ถ้าเด็กตัดสินใจท� ำกิจกรรมศิลปะด้วยตนเองจนส� ำเร็จ นั่นคือการแสดงความคิดเชิงวิพากษ์ และมีเจตคติแบบไม่ล้มเลิก โครงการศิลปะที่ผู้นิพนธ์น� ำเสนอเป็นตัวอย่างแสดงเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ โดยการอ� ำนวย บรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่หนุนจิตใจให้เด็กกล้าตัดสินใจสร้างงานศิลปะจนสัมฤทธิ์ผล ตัวอย่างที่ชัดเจนของวิธีสร้างเสริมเจตคติที่น� ำเสนอโดยอาศัยศิลปกรรมที่ท� ำให้เด็กสนใจอยากรู้ ความสูงของตนว่าเป็นอย่างไร โดยให้แสดงภาพขนาดเหมือนจริง (รูปที่ ๑) การให้วัสดุต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า สีระบาย ท� ำให้เด็กหาวิธีตกแต่งรูปภาพ ซึ่งต้องอาศัยการตัดสินใจเชิงวิพากษ์ ในกรณีที่เด็กไม่ชอบผลงาน ที่ออกมาและลงมือท� ำใหม่ นั่นคือเป็นการแสดงความยอมรับการพ่ายแพ้ หากเด็กหวนท� ำโดยการกระท� ำ อย่างระวังระไวในความถูกต้อง (กังขา) ด้วยการไต่ถาม งานดังกล่าวกว่าจะสิ้นสุดต้องใช้เวลา จึงเข้าเจตคติ เชิงไม่ยอมล้มเลิก การค้นพบ/การสอบถาม/การส� ำรวจ การเขียนหลักสูตรวิทยาศาสตร์มักเน้นความส� ำคัญของการค้นพบ การส� ำรวจ และการสอบถาม การส� ำรวจในวิทยาศาสตร์เบื้องต้นท� ำโดยจัดให้เด็กมีประสบการณ์กับอุปกรณ์และวัสดุในโลกแห่งความ เป็นจริง ซึ่งจะเป็นห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์แห่งแรกของเขา การส� ำรวจสภาพแวดล้อมของเด็กเป็นการ ท� ำงานขั้นต้นเพื่อไปสู่การพัฒนาความสามารถการสร้างเชิงนามธรรม ยิ่งกว่านั้น ในการเรียนวิทยาศาสตร์เมื่อเด็กตั้งต้นส� ำรวจสิ่งต่าง ๆ เด็กจะตั้งค� ำถามเบื้องต้น ๓ อย่าง ได้แก่ “อะไร” เช่น ทรายคืออะไร, ดินเหนียวคืออะไร; “อย่างไร” เช่น ของแข็งกลายเป็นไอได้ อย่างไร, กาน�้ ำให้ไอน�้ ำได้อย่างไร, ดินเหนียวเมื่อเผาแล้วแข็งเป็นหินได้อย่างไร; และ “ท� ำไม” เช่น ท� ำไม สนามจึงมีสีแดงเรือง ๆ ตอนพระอาทิตย์ตกดิน, ท� ำไมสี ๒ สีผสมกันเกิดเป็นสีที่ ๓ ในกระบวนการศิลปะจะมีการซักถามและการค้นพบเช่นกัน เช่นเมื่อเด็กจับดินสอสีหรือพู่กันและ ส� ำรวจคุณภาพของเส้นหรือสีที่เกิดขึ้นบนแผ่นกระดาษ นั่นจะเป็นสถานการณ์การเรียนรู้ จากการส� ำรวจ และค้นพบ การเรียนรู้ที่ส� ำคัญได้จากปัญหาที่เด็กตั้งค� ำถาม ดังตัวอย่างในกระบวนการการสร้างว่าว (รูป ที่ ๒) และการท� ำแผ่นฉาบขี้ผึ้งสี (รูปที่ ๓) การส� ำรวจและการค้นพบในทางศิลปะเป็นงานจ� ำเพาะอย่างหนึ่ง ที่เป็นจุดหมายส� ำคัญในบท เรียนศิลปะ ที่ต้องให้โอกาสเด็กได้ศึกษาสื่อวัสดุใหม่ ๆ เพราะศิลปะจะไม่บังเกิดหากไร้ซึ่งคลังความรู้เกี่ยว กับสื่อวัสดุที่ควรใช้ เพราะเด็กพร้อมจะวาดหรือระบายสีหรือสร้างสรรค์บนสื่อวัสดุที่เด็กได้ กระบวนการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=