สำนักราชบัณฑิตยสภา

243 เลิ ศศิ ริ ร์ บวรกิตติ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ การจัดระเบียบเชิงอนุกรม โดยอาศัยการสังเกต เช่น ความยาวความกว้างของขนพู่กัน ความยาวความกว้างของด้ามพู่กัน ความเข้มจางของสี ความแห้งหรือเปียกของดินเหนียว การจัดเรียงเม็ดเป็นลวดลายตามขนาดต่าง ๆ แล้ว อาจติดแปะบนแผ่นกระดาษ ค� ำนิยาม ในกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์ต้องใช้ภาษาที่ชัดเจนแน่นอน ภาษาเฉพาะกลุ่ม หรือภาษาเฉพาะ วงการ (jargon) และในการนิยามต้องสังเกตแยกแยะค� ำในบริบทที่คุ้นเคย เช่น นิยามสีเหลืองเป็นสีกล้วย หอมสุก สีส้มเป็นสีฟักทองสุกหรือเป็นผลลัพธ์ของการผสมสีเหลืองกับแดง การสื่อสาร การแสดงผลการทดลองและสังเกตการณ์อย่างกระจ่างชัดเจนจะโดยการเขียนบันทึกสาธยาย เป็นการสื่อสารส� ำคัญในกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่ช่วยให้ผลการศึกษาค้นคว้าคงอยู่สามารถน� ำไปใช้หรือ ท� ำซ�้ ำได้ การสื่อสารนี้เป็นประสบการณ์ทางศิลปะเช่นกัน เช่น การวาดภาพ การระบายภาพสี การสร้าง รูปแบบจ� ำลองซึ่งจะบันทึกข้อมูลจากการสังเกตและการติดต่อสื่อสารกันทางวิทยาศาสตร์ การคาดการณ์ เป็นกระบวนการประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในการคาดเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น เช่น ความรู้ ทางวิทยาศาสตร์กล่าวว่า ความร้อนท� ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสมบัติกายภาพของวัสดุต่าง ๆ เด็กนักเรียน ก็จะสามารถคาดเหตุการณ์ที่จะเกิดกับดินสอขี้ผึ้งเมื่อถูกความร้อนได้ หรือถ้ายังไม่มีความรู้ก็ให้เด็กสร้าง งานศิลปะท� ำแผ่นกระดาษฉาบดินสอขี้ผึ้ง เจตคติด้านวิทยาศาสตร์ เจตคติส� ำคัญด้านวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ความอยากรู้อยากเห็น ก่อให้เกิดวิสัยส� ำรวจ, การประดิษฐ์ คิดค้น ท� ำให้เกิดการใช้อุปกรณ์วิทยาศาสตร์เชิงก่อ, ความคิดเชิงวิพากษ์ ก่อเจตคติเชิงออกความคิดเห็น ให้ ข้อยุติ และความคิดที่อิงหลักฐาน, การยืนกราน เป็นเจตคติท� ำนองไม่ยอมเลิกราหรือล้มเลิก ทั้ง ๆ ที่คน อื่นหมดความสนใจแล้ว ก็ยังพยายามท� ำกิจกรรมนั้นต่อไป, ความกังขา ท� ำให้เกิดการถามไถ่อย่างมีเหตุผล, การยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เป็นวิสัยทางวิทยาศาสตร์ที่ยอมรับความไม่แน่นอน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=