สำนักราชบัณฑิตยสภา
ศิ ลปะกั บวิ ทยาศาสตร์ 242 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 ที่กล่าวมาเป็นเพียงตัวอย่าง ๒-๓ ชิ้นที่ใช้วิธีผสมผสาน ๒ ศาสตร์เข้าด้วยกัน ล� ำดับต่อไปเป็นการ เสนอวิธีอื่นที่จ� ำเพาะวิชาด้านความมุ่งหมายและเจตคติ ดังตัวอย่างต่อไปที่น� ำเสนอเพื่อกระตุ้นผู้อ่านให้เกิด การพัฒนาบทเรียนองค์รวมด้านศิลปะกับวิทยาศาสตร์ ทักษะพื้นฐานกระบวนการวิทยาศาสตร์ นักเรียนต้องใฝ่ทักษะพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์เพื่อจะได้สามารถเก็บประสบการณ์จากการ เรียนวิทยาศาสตร์อิงการสืบสวน ที่เรียกว่า “ทักษะเชิงกระบวนการ” โดยอาศัยความสามารถต่อไปนี้ : สังเกตการณ์ การแยกแยะจัดเรียง การจัดล� ำดับชั้น การจัดระเบียบเชิงอนุกรม ให้นิยาม การติดต่อ และ คาดการณ์ สังเกตการณ์ ทักษะด้านนี้ส� ำคัญต่อการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะความสามารถที่จะพินิจราย ละเอียดในเชิงกว้างและรายละเอียดปลีกย่อย ทักษะด้านสังเกตการณ์เกิดจากการศึกษาสมบัติกายภาพ ของวัตถุและระบบ สังเกตการณ์ตามโอกาสที่ได้พบเห็น ได้ชิม ได้ฟัง ได้ดม และแตะสัมผัส สื่อศิลปะและ กิจกรรมต่าง ๆ ช่วยให้เด็กบรรลุทักษะสังเกตการณ์ เช่นให้รู้จักคุณภาพของสี สมบัติของดินเหนียว สมบัติ ของสีแท่ง นอกจากนี้การชี้แนะด้วยค� ำถาม เช่น เมื่อให้เด็กวาดสถานที่อยู่อาศัย ควรแนะให้แสดงจ� ำนวน ห้อง สีตัวบ้าน และชนิดต้นไม้ ซึ่งจะท� ำให้ทักษะด้านสังเกตการณ์ดีขึ้น การจัดแยก การจัดแยกมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมวัสดุสิ่งของเป็นกลุ่มต่าง ๆ โดยอาศัยสมบัติเฉพาะตัว วิธี การที่ง่ายที่สุดใช้ระบบฐานสอง จ� ำแนกโดยความเห็นว่าใช่ไม่ใช่ ตัวอย่างสิ่งของที่แยกได้โดยระบบฐานสอง เช่น มีหรือไม่มีกลิ่น มีสีหรือไม่มี มีสิ่งเร้าใจหรือไม่ หรือตัวอย่างให้เด็กไปเดินเล่นเก็บสิ่งของที่พบเห็นบน ทางเดิน น� ำกลับมาห้องเรียน แล้วจัดแยกเป็น ๒ กลุ่มตามสมบัติจ� ำเพาะ เช่น ใบไม้หยาบหรือเรียบ ใบไม้ แข็งหรืออ่อน แล้วให้จัดเรียงเทียบคู่กัน ตามวิธีที่จะกล่าวต่อไป การจ� ำแนกชั้น กระบวนการในหัวข้อนี้เป็นการจัดกลุ่มวัสดุ เช่น เด็กเดินเก็บใบไม้ตามทาง น� ำมาจัดแยกกลุ่ม เช่น ใบมีหนามกับใบไม่มีหนาม ใบคู่หรือใบช่อ ใบเรียบหรือไม่เรียบ หลังจากนั้นเด็กอาจพิมพ์ใบ หรือเรียง เม็ดเป็นลวดลาย (โมเสก) กิจกรรมศิลปะที่ใช้ในการจ� ำแนกชั้นอาจได้การเรียนรู้รูปทรงเรขาคณิตด้วย ใน สถานการณ์เรียนรู้เช่นนี้ เด็กอาจถูกสั่งให้บอกความแตกต่างของวัตถุ โดยการดูและคล� ำเปรียบเทียบ เพื่อ บอกสมบัติแตกต่าง เช่น แข็งหรืออ่อน หนักหรือเบา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=