สำนักราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ ศิลปะกับวิทยาศาสตร์ เลิศศิริร์ บวรกิตติ * บทคัดย่อ บทความนี้แปลและเรียบเรียงจากบทที่ ๘ หน้า ๑๘๕-๒๐๕ ของหนังสือ Art-centered Education and Therapy for Children with Disabilities นิพนธ์โดย Prof. Dr.Frances E. Anderson จัดพิมพ์โดยส� ำนักพิมพ์ Charles C. Thomas, Springfield, IL. เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗ ใน บทความ ผู้นิพนธ์ได้น� ำตัวอย่างแสดงความเกี่ยวข้องระหว่างศิลปกรรมศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ เช่น การศึกษากระแสลมกับการสร้างว่าวแล้วปล่อยขึ้นลอยลม, การศึกษาความสว่างจากแสงอาทิตย์กับ ศิลปกรรมกระจกสี, การศึกษาส� ำรวจธรรมชาติกับศิลปกรรมปะติด ค� ำส� ำคัญ : ศิลปะ, วิทยาศาสตร์ * คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพมหานคร ภูมิหลัง ศิลปะกับวิทยาศาสตร์นั้นสัมพันธ์ใกล้ชิดกันกว่าที่เคยคิดกัน ในหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์และ ในต� ำราวิทยาศาสตร์พื้นฐานได้แสดงจุดมุ่งหมายและเจตคติร่วมกับด้านศิลปะ และบางส่วนก็ได้ผสมผสาน เป็นองค์รวมเชิงสหวิทยาการ หลักสูตรหลายตอนเน้นสถานการณ์การเรียนเชิงรุก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ ปิอะ เจต์และอินเฮลเดอร์ ได้ศึกษาแสดงว่าศิลปะท� ำให้เด็กนักเรียนสามารถตระหนักนัยของสมรรถภาพการรู้คิด ตัวอย่างสนับสนุนเด็กให้เรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงรุกได้โดยการน� ำกิจกรรมทางศิลปะเข้ามาร่วม เช่น การเรียนรู้การเจริญของพืช โดยให้เด็กส� ำรวจวิวัฒนาการ เริ่มจากใช้เมล็ดปลูกในภาชนะสร้างขึ้นบรรจุดิน ปลูกหรือใช้ภาชนะที่มีอยู่ เช่น กระป๋องหรือถ้วย พร้อมไปกับการวาดบันทึกภาพการเจริญตามระยะเวลา หรือในการศึกษาแนวคิดเรื่องลม เด็กจะเข้าใจง่ายขึ้นโดยให้สร้างกังหันหรือว่าว ซึ่งร่วมด้วยงานศิลปะด้าน รูปร่างสีสันและสัญลักษณ์ต่าง ๆ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙ เกนเออร์และไชลด์ (Gainer & Child) รายงานผลส� ำเร็จของการน� ำโครงการ ศิลปะร่วมชีววิทยาไปประยุกต์ใช้ในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโดยวิธีการสังเกตและน� ำเสนอด้วยภาพ เช่น แผนที่ แมลง เปลือกหอย ดอกไม้ ในโครงการชื่อ “โรงเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็ก” เป็นการเรียนภาค ฤดูร้อน ๖ สัปดาห์ โครงการนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๐ ต่อมาถูกน� ำไปดัดแปลงใช้โดยนักวิชาการอีกหลาย คน อาทิ แมคคลินทอก (McClintock) ศึกษาพันธุกรรมข้าวโพด

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=