สำนักราชบัณฑิตยสภา
237 สมชั ย บวรกิตติ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ ผู้ป่วยเนื้องอกเยื่อหุ้มหัวใจ ๒ ราย เป็นในหญิงทั้ง ๒ ราย (ร้อยละ ๑๐๐) ผู้ป่วยเนื้องอกเยื่อบุถุงอัณฑะและเยื่อหุ้มอัณฑะ [ทูนิกาแวจินาลิสเทสทิส (tunica-vaginalis testis)] ๓ ราย เป็นในชายทุกราย (ร้อยละ ๑๐๐) สถานที่อยู่ของผู้ป่วยมีบันทึกไว้ ๔๒ ราย เป็นกรุงเทพมหานคร ๑๒ ราย เชียงใหม่ ๕ ราย นครปฐม ๔ ราย พะเยา ๒ ราย ก� ำแพงเพชร ๒ ราย อยุธยา ๒ ราย ล� ำปาง ๑ ราย แพร่ ๑ ราย อุตรดิตถ์ ๑ ราย สุโขทัย ๑ ราย นครสวรรค์ ๑ ราย ลพบุรี ๑ ราย ชัยนาท ๑ ราย อุทัยธานี ๑ ราย สุรินทร์ ๑ ราย นครราชสีมา ๑ ราย กาญจนบุรี ๑ ราย สมุทรสงคราม ๑ ราย ระยอง ๑ ราย สงขลา ๑ ราย นครศรีธรรมราช ๑ ราย อาชีพผู้ป่วยที่บันทึกไว้ ๔๔ ราย ได้แก่ ท� ำงานบ้าน ๗ ราย ข้าราชการ ๓ ราย รับจ้างทั่วไป ๘ ราย เกษตรกร ๑๓ ราย ค้าขาย ๕ ราย นักเรียนนักศึกษา ๓ ราย ภิกษุ ๑ ราย กะลาสี ๑ ราย ท� ำงานโรงงาน สัมผัสใยหิน ๓ ราย (๑ รายท� ำงาน ๑ ปี อีก ๒ รายประมาณ ๒๐ ปี) สรุปและวิจารณ์ เท่าที่ทราบมีการน� ำเข้าใยหินมาใช้ในอุตสาหกรรมในประเทศไทยอย่างน้อยเป็นเวลาประมาณ ๔๐ ปีแล้ว (๒๔) แต่ยังไม่พบผู้ป่วยโรคเหตุใยหินที่มีหลักฐานยืนยันการวินิจฉัยโรคชัดเจน แม้ว่าจะมีรายงาน ผู้ป่วยโรคเนื้องอกเยื่อเลื่อมแล้วอย่างน้อย ๗๙ รายแล้ว ซึ่งเป็นที่น่าสนใจว่าเหตุไฉนผู้ป่วยเหล่านั้นจึงไม่มี หลักฐานยืนยันว่าเกิดจากใยหินได้ นอกจากผู้ป่วยบางรายที่มีประวัติท� ำงานในสถานประกอบการที่ใช้ใยหิน ซึ่งก็เป็นที่น่าสังเกตว่าพนักงานคนอื่น ๆ ที่ท� ำงานในโรงงานเดียวกันไม่มีรายงานว่าเป็นโรคเหตุใยหินเลย การศึกษาทบทวนผู้ป่วยโรคเนื้องอกเยื่อเลื่อมในประเทศไทยที่น� ำเสนอในรายงานนี้ได้ให้ข้อมูลบาง ประการเป็นประโยชน์ส� ำหรับการน� ำข้อมูลไปอ้างอิงได้ต่อไปในอนาคต ที่ส� ำคัญที่สุดคือ ได้ข้อมูลยืนยันว่า โรคเนื้องอกเยื่อเลื่อมในประเทศไทยในช่วงเวลาเกือบ ๖๐ ปี ที่ผ่านไปไม่มีสาเหตุจากใยหิน อาจมีค� ำถามว่า เพราะเหตุใดโรคเนื้องอกชนิดนี้เป็นที่เยื่อหุ้มปอดมากกว่าบริเวณอื่น ค� ำตอบโดย ตรรกะก็คือมนุษย์จะได้รับฝุ่นใยหินเข้าสู่ปอดโดยทางการหายใจมากกว่าทางอื่น ประกอบกับใยหินมี สัมพรรคภาพกับเยื่อเลื่อมจึงตรงไปที่เยื่อหุ้มปอดที่อยู่ใกล้ที่สุด อาจมีบางส่วนที่ไปทางกระแสเลือดโดย การน� ำพาของแมโครเฟจไปสู่อวัยวะอื่น อนึ่ง เยื่อเลื่อมที่อวัยวะอื่นก็เป็นโรคปฐมภูมิได้ ขอเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคเหตุใยหินในสัตว์ที่มีผู้เป็นห่วงกันโดยเฉพาะสุกรที่เลี้ยงในคอกที่มุงหลังคา ด้วยกระเบื้องใยหินว่า มีบทความจากปรมาจารย์สัตวแพทย์ (๒๕) แจ้งว่า ไม่เคยพบโรคเหตุใยหินในสุกรไม่ว่า ในประเทศไทยหรือในโลกนี้ ความจริงเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่จะท� ำการศึกษาปอดสุกรว่าจะตรวจพบเส้นใย หินหรือเทห์ใยหินบ้างหรือไม่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=