สำนักราชบัณฑิตยสภา
นวั ตกรรมทางการศึ กษาและสหวิ ทยาการกั บการพั ฒนาประเทศ 232 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 อักษรไทย) เป็นสื่อหลักในการสอนก่อน และค่อย ๆ เชื่อมโยงเข้าสู่การเรียนโดยใช้ภาษาไทยเป็นสื่อในการ สอน ขณะเดียวกันภาษาท้องถิ่นก็ยังใช้อยู่ จนเมื่อเด็ก ๆ เข้าใจภาษาไทยได้มากขึ้นดีแล้ว ก็จะจัดการเรียน รู้โดยใช้ภาษาไทยเป็นหลัก และใช้ภาษาท้องถิ่นเป็นตัวช่วยในการอธิบายความหมายที่เข้าใจยาก น�้ ำหนัก ของภาษาท้องถิ่นและภาษาไทยที่ใช้เป็นสื่อในการสอน จะผกผันไปตามความสามารถทางภาษาของผู้เรียน และชั้นเรียนที่สูงขึ้น (มีแผนภูมิประกอบท้ายบทความ) ๒. จัดการเรียนการสอนทั้งภาษาท้องถิ่นและภาษาไทยเป็นรายวิชาแยกจากกัน โดยเน้นการฝึก ทักษะฟัง-พูด ก่อนทักษะอ่าน-เขียน เริ่มเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ หรือจบชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๓ เป็นอย่างน้อย บางโรงเรียนอาจจัดการเรียนการสอนภาษาท้องถิ่นเป็นรายวิชาเพิ่มเติม ในชั้นเรียนที่สูงขึ้น ๓. สังเคราะห์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาสาระที่ครูจัด ประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียน ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรียนรู้จากเรื่องใกล้ ตัวก่อนเรียนเรื่องไกลตัว ๔. จัดการเรียนการสอนภาษาท้องถิ่นก่อน แล้วเชื่อมโยงเข้าสู่การเรียนภาษาไทยและภาษาต่าง ประเทศอื่น ๆ อย่างมีระบบ และค่อยเป็นค่อยไปตามหลักการสอนภาษาที่สอง โดยอาศัยหลักสหวิทยาการ การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมอง หลักการทางภาษาศาสตร์ และหลักการจัดการเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับผู้เรียน เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง เน้นการเรียนรู้และฝึกทักษะที่ผู้เรียนมีความเข้าใจทั้งด้าน ความหมาย และสามารถใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องแม่นย� ำ จัดท� ำหลักสูตรสถานศึกษาที่อิงกับหลักสูตรการ ศึกษาของชาติ ตามมาตรฐานและตัวชี้วัด อย่างที่เด็กไทยทุกคนจักต้องได้รับการพัฒนาตามอุดมการณ์การ จัดการศึกษาของชาติ ๕. มีครูที่สื่อสารได้สองภาษา (คือภาษาไทยและภาษาท้องถิ่น) ในครูคนเดียวกันหรือครู ๒ คน ช่วยกันจัดการสอนตามแผนการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียน มีสื่อการเรียนรู้ที่ใกล้ตัวผู้เรียนโดยเฉพาะใน ชั้นเรียนต้น ๆ ครูได้รับการฝึกอบรมวิธีสอนและการผลิตสื่อที่สอดคล้องกับผู้เรียน มีการนิเทศติดตามช่วย เหลือครูอย่างต่อเนื่อง และชุมชนมีส่วนร่วมมากขึ้นในการก� ำหนดคุณลักษณะและความส� ำเร็จของผู้เรียน ในโรงเรียนแนวทางทวิภาษา เด็ก ๆ จะได้รับการพัฒนาให้เป็นทั้งคนดีและคนเก่ง เช่นเดียวกับ เด็กไทยในเมือง ซึ่งจากการประเมินผลการเรียนพบว่า เด็ก ๆ ในโรงเรียนโครงการทวิภาษา มีความพร้อม และมีทักษะในการเรียน เด็ก ๆ แสดงออกอย่างมั่นใจตนเอง มีความสุขในการมาโรงเรียน และรักการอ่าน เด็กๆ มีทักษะในการฟัง-พูด และอ่าน-เขียนภาษาท้องถิ่นและภาษาไทย ชุมชนมีส่วนร่วมและเป็นก� ำลัง ส� ำคัญในการจัดการเรียนรู้ ครูได้รับการพัฒนา ทั้งด้านความรู้ความสามารถและจิตใจที่เสียสละ การจัดการเรียนรู้โดยแนวทางทวิภาษา (ภาษาไทย-ท้องถิ่น) นับว่าเป็นสิ่งใหม่ส� ำหรับบุคลากรใน ส� ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งความส� ำเร็จ (จะมากหรือน้อย) ที่จะเกิดแก่เด็กและเยาวชน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=