สำนักราชบัณฑิตยสภา
231 ชิ นภั ทร ภูมิ รั ตน วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ ของผู้เรียนเป็นอย่างมาก การที่ครูกับเด็กใช้ภาษาแตกต่างกัน ครูเปลี่ยน ย้ายบ่อย สื่อการเรียนรู้มีภาษา และเรื่องราวที่ไกลตัวเด็ก เหล่านี้เป็นสาเหตุส� ำคัญน� ำมาซึ่งความล้มเหลวของการจัดการศึกษาส� ำหรับ โรงเรียนในพื้นที่เหล่านี้ เพราะเด็ก ๆ เมื่อเข้าสู่โรงเรียนก็จะมีภาษาและวิถีวัฒนธรรมแบบบ้านและชุมชน ติดมาด้วย ดังนั้นการจัดการศึกษาที่โรงเรียน จึงไม่ควรบังคับให้เด็กต้องละทิ้งสิ่งที่เคยเรียนรู้มา หากแต่ ต่อยอดและเติมเต็มสิ่งใหม่ ๆ ให้แก่เด็กอย่างมีจังหวะก้าวพร้อม ๆ กับเรียนรู้ภาษาใหม่ (ภาษาในการสอน) และเรื่องราวใหม่ ๆ ตามหลักสูตร ทั้งตัวอย่างเชิงรูปธรรมและเชิงนามธรรม ดังนั้น หากในพื้นที่พิเศษ แนวชายแดนและที่ห่างไกลยังมีระบบการสอบบรรจุครูแบบเดิม ๆ ครูที่ไม่รักการเรียนรู้ ไม่ปรับเปลี่ยนวิธีสอน เปลี่ยน ย้ายบ่อย และไม่ทุ่มเทแก่เด็ก ๆ แล้วลองประเมิน ทักษะการอ่าน ทักษะทางคณิตศาสตร์ และทักษะทางวิทยาศาสตร์ เปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ (PISA) เราก็อาจจะเห็นผลการสอบของเด็กในพื้นที่ชายแดนต�่ ำกว่าที่เห็นกันอยู่แล้วก็เป็นได้ กระบวนการสอนแบบทวิภาษาส� ำหรับเด็กกลุ่มชาติพันธุ์ จากข้อเท็จจริงที่พบว่า เด็ก ๆ ในพื้นที่ห่างไกลและบริเวณตะเข็บชายแดน นั้นจ� ำนวนมากมีภาษา ที่ใช้ในบ้านและในชุมชนแตกต่างจากภาษาไทย ทั้งในระดับค� ำ ความหมาย และโครงสร้างประโยค นักเรียน ชั้นต้น ๆ มักสื่อสารกับครูไม่เข้าใจเพราะพูดกันคนละภาษา และมีนักเรียนชั้นโต ๆ จ� ำนวนมาก ที่แม้เข้าใจ ภาษาไทย แต่ก็ไม่มากพอที่จะเรียนรู้สาระเรื่องราว ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานได้อย่างมีคุณภาพ ส� ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงสนับสนุนให้โรงเรียนในพื้นที่ตะเข็บชายแดนเหล่า นี้ น� ำภาษาท้องถิ่นเข้าร่วมจัดการเรียนรู้ โดยมีกระบวนการสอนแบบทวิภาษา (ภาษาไทย-ภาษาท้องถิ่น) เป็น โครงการน� ำร่องอยู่ในหลายโรงเรียนที่เป็นเด็กกลุ่มชาติพันธุ์ภาษาเดียวกันและพูดภาษาในบ้านและในชุมชน แตกต่างจากภาษาไทย ส� ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ให้การสนับสนุนมหาวิทยาลัยมหิดล จัดท� ำโครงการน� ำร่องการสอนแบบทวิภาษา (ภาษาไทย-มลายูถิ่น) ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ และการสอนแบบ ทวิภาษา (ภาษาไทย-เขมรถิ่นไทย) ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ส� ำนักงานคณะกรรมการการ ศึกษาขั้นพื้นฐานยังได้ด� ำเนินงานร่วมกับมูลนิธิภาษาศาสตร์ประยุกต์ ในโครงการทวิภาษา (ภาษาไทย-มอญ) พื้นที่ภาคตะวันตก และโครงการทวิภาษา (ภาษาไทย-ม้ง และภาษาไทย-กะเหรี่ยงโปว) ในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่ง การด� ำเนินโครงการทวิภาษาในพื้นที่เหล่านี้ ค� ำนึงถึงความพร้อมของโรงเรียนและชุมชน อิงหลักสูตรแกนกลาง มาตรฐานและตัวชี้วัดตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของชาติ การสอนแบบทวิภาษา (ภาษาไทย-ท้องถิ่น) มีแนวทางดังนี้ ๑. จัดการเรียนรู้โดยใช้ทั้งสองภาษา (คือภาษาไทยและภาษาที่เด็กใช้ประจ� ำวัน/ภาษาแรกของเด็ก) เป็นสื่อในการสอน โดยมีเนื้อหาสาระตามอุดมการณ์ มาตรฐาน และตัวชี้วัดของหลักสูตรปฐมวัยและหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน เริ่มจากในชั้นอนุบาล ซึ่งครูจะใช้ภาษาท้องถิ่น (ทักษะฟัง-พูด แล้วทักษะอ่าน-เขียนด้วย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=