สำนักราชบัณฑิตยสภา

ความเสี่ ยงในการพั ฒนาระบบสารสนเทศเน้นเฉพาะที่ เกิ ดจากหน่วยงาน 14 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 เมื่อพิจารณาประเด็นที่เป็นหัวข้องานหลักข้างต้นแล้วก็อาจจะระบุได้ว่า ที่มาของความเสี่ยงส� ำคัญ ที่จะท� ำให้การพัฒนาระบบสารสนเทศไม่ส� ำเร็จตามความมุ่งหมายมีอยู่ดังนี้ คือ ๑) หน่วยงานที่ว่าจ้างให้ด� ำเนินการพัฒนาระบบสารสนเทศ ๒) บริษัทและหน่วยงานที่เป็นซัพพลายเออร์ ๓) หน่วยงานที่รับหน้าที่พัฒนาระบบสารสนเทศ ๔) สิ่งแวดล้อมของการพัฒนาระบบ ๕) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหลายของการพัฒนาและการใช้ระบบ ต่อไปนี้จะได้น� ำแหล่งที่มาของความเสี่ยงเฉพาะประเด็นแรกซึ่งจะเรียกว่าเป็นผู้ว่าจ้างให้พัฒนา ระบบมาแจกแจงเป็นรายละเอียด ความเสี่ยงที่จะแจกแจงต่อไปนี้เป็นความเสี่ยงในภาพรวม แม้ว่าหน่วย งานจะมอบหมายให้บุคลากรทางด้านคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาระบบเองโดยไม่ว่าจ้าง บริษัทภายนอกให้พัฒนาระบบสารสนเทศให้ ความเสี่ยงเหล่านี้ก็ยังคงมีอยู่ การตระหนักถึงความเสี่ยงเหล่า นี้จึงจ� ำเป็นที่ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการว่าจ้างการพัฒนาระบบสารสนเทศจะต้องทราบเพื่อหาทาง ลดความเสี่ยงและป้องกันไม่ให้ความเสี่ยงเหล่านี้มีผลกระทบต่อผู้พัฒนาระบบสารสนเทศ ผู้บริหารและ บุคลากรของหน่วยงานพึงเข้าใจว่า การว่าจ้างบริษัทหรือหน่วยงานภายนอกให้พัฒนาระบบสารสนเทศ ให้นั้นควรมีทัศนคติที่เป็นบวก นั่นคือท� ำให้การพัฒนาระบบสารสนเทศประสบชัยชนะด้วยกันทั้ง ๒ ฝ่าย หน่วยงานผู้ว่าจ้างก็ได้ระบบสารสนเทศที่ดี มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ส่วนบริษัทหรือหน่วยงานที่ เป็นผู้รับจ้างก็ได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรม ผู้เกี่ยวข้องกับการว่าจ้างงานพัฒนาระบบ การว่าจ้างพัฒนาระบบ (ต่อไปนี้จะใช้ค� ำว่า ระบบ แทนค� ำว่า ระบบสารสนเทศ) ของหน่วยงาน ต่าง ๆ ไม่ว่าของรัฐหรือเอกชนนั้นมีผู้เกี่ยวข้องด้วยหลายกลุ่มด้วยกัน ที่ส� ำคัญก็คือ ๑) ผู้บริหารระดับสูงที่ต้องการได้ระบบมาใช้ คือผู้ที่อาจจะผลักดันให้เกิดระบบในตอนต้น เป็นผู้ลงนามในสัญญาว่าจ้าง และเป็นผู้ลงนามในการอนุมัติการช� ำระเงินค่าจ้างตามสัญญา ๒) ผู้บริหารของแผนกหรือหน่วยงานย่อยที่จะใช้ระบบ คือผู้บริหารที่จะต้องรับผิดชอบต่อ การด� ำเนินงานของระบบ การใช้รายงานของระบบ การอนุมัติการปรับเปลี่ยนกระบวนการ และวิธีท� ำงานในแผนกที่จะก� ำหนดในระบบใหม่ ซึ่งจะท� ำให้งานในระบบใหม่สะดวกกว่าเดิม หน้าที่ของผู้บริหารกลุ่มนี้คือ การให้ความเห็นชอบต่อข้อก� ำหนดความต้องการส� ำหรับน� ำไป ใช้ในการพัฒนาระบบ รวมทั้งการให้ความเห็นชอบต่อผลงานขั้นต่าง ๆ ที่ผู้พัฒนาระบบ จัดท� ำขึ้น หากไม่เห็นชอบก็จะต้องแจ้งประเด็นนั้นแก่ผู้พัฒนาระบบ ๓) ผู้ใช้ระบบ คือ ผู้ที่ใช้งานระบบเป็นประจ� ำ ผู้ใช้ระบบอาจจะมีทั้งผู้ที่เป็นพนักงานของหน่วยงาน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=