สำนักราชบัณฑิตยสภา
229 ชิ นภั ทร ภูมิ รั ตน วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ แนวทางการพัฒนาการศึกษา เช่น มาตราที่ ๘๐ รัฐต้องด� ำเนินตามนโยบายด้านสังคม สาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม คุ้มครองและพัฒนาเด็ก และเยาวชน สงเคราะห์และจัดสวัสดิการแก่ผู้อยู่ใน สภาวะยากล� ำบากให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และพึ่งพาตนเองได้ พัฒนาคุณภาพชีวิตและมาตรฐานการ จัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบ ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม ส่งเสริม และสนับสนุนการกระจายอ� ำนาจเพื่อให้ชุมชน องค์กรทางศาสนาและเอกชนจัดและมีส่วนร่วม ในการ จัดการศึกษาให้เท่าเทียมและสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ หลายมาตรา ก็ได้ กล่าวถึงการจัดการศึกษาซึ่งต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกัน ในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่ น้อยกว่า ๑๒ ปี อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย สนับสนุนการจัดหลักสูตรการศึกษาที่เหมาะ กับบุคคล ผู้บกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม ฯลฯ ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้มี ความสามารถพิเศษ ซึ่งหมายถึงการมีหลักสูตรที่หลากหลาย สอดคล้อง และน� ำไปสู่การปฏิบัติจริง ที่พัฒนา คุณภาพของนักเรียนได้เหมาะสมแก่ลักษณะ วัย ศักยภาพ และสังคม รัฐบาลยังได้ลงนามในพันธะสัญญาต่าง ๆ ระหว่างประเทศ เช่น อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ. ๑๙๘๙ ซึ่งรัฐต้องให้โอกาสแก่เด็กทุกคนในการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน ปฏิญญาจอมเทียน ค.ศ. ๑๙๙๐ ซึ่งว่าด้วยการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน (Education for All) อย่างเสมอภาค ทั่วถึง และเป็นธรรม และ ในข้อตกลงของการประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษหรือมิลเลเนียมซัมมิตขององค์การสหประชาชาติ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๓ ก็ได้ลงนามรับว่า การศึกษาเป็นสิทธิอันพึงมีของประชากรโลก และเป็นพันธกิจที่ทุกรัฐบาล ต้องด� ำเนินการให้บรรลุความส� ำเร็จในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ รวมถึงการลงนามใน อนุสัญญาว่าด้วยการขจัด การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งกล่าวถึงการประกันสิทธิของทุกคนให้ เสมอภาคกันตามกฎหมายและในการศึกษาและฝึกอบรม โดยไม่แบ่งแยกหรือจ� ำกัดชนชั้น เชื้อชาติ สีผิว หรือเผ่าพันธุ์ก� ำเนิด ส� ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (๔) ได้ระบุความตั้งใจ ดังที่ปรากฏในเอกสาร ราชการหลายฉบับว่าภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ จะขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทย พัฒนาประชากรไทยให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ มีผลสอบสูงเทียบเท่าค่าเฉลี่ยของโลก, พัฒนาและส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาให้ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ เป็นบุคคลที่มีความ รู้ คุณธรรม มีความสามารถตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และพัฒนาสู่คุณภาพระดับสากล, รวมทั้ง จะพัฒนากฎ ระเบียบ และปรับแก้ไขสิ่งต่าง ๆ ที่จะเอื้อต่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนทุกคนให้เข้าเรียน และจบจากสถานศึกษาได้โดยไม่ถูกกีดกันแบ่งแยก ปรับระบบการเทียบโอนความรู้ สนับสนุนการจัดการ ศึกษาที่ยืดหยุ่น และมีรูปแบบหลากหลาย, มีการวัดประเมินผล และสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ, เร่งพัฒนา ครู สนับสนุนให้รวมตัวกันพัฒนาเทคนิคกระบวนการเรียนการสอน และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ให้เด็ก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=