สำนักราชบัณฑิตยสภา

นวั ตกรรมทางการศึ กษาและสหวิ ทยาการกั บการพั ฒนาประเทศ 228 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 เด็กๆ ในท้องถิ่นมีหลากหลายประเภท ภาษาและวัฒนธรรม เด็ก ๆ ของสังคมไทยมีหลายประเภทหลายระดับ เด็กส่วนใหญ่เป็นเด็กปรกติ มีความสามารถ พื้นฐานที่พัฒนาให้สูงขึ้นได้ นอกจากนี้ยังมีเด็กกลุ่มพิเศษ ได้แก่ เด็กเก่ง และเด็กด้อยโอกาส เราคงไม่อยาก เห็นประเทศไทยมีเด็กส่วนใหญ่ที่ด้อยคุณภาพ และมีเพียงเด็กส่วนน้อยที่ฉลาด และในส่วนน้อยนี้ก็ยังเป็น ผู้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน นอกจากเด็กปรกติ และเด็กเก่ง เราก็ยังมีเด็กด้อยโอกาสอีกมากมาย ที่เคยถูกสังคมปล่อยปละ ละเลย ถูกละเมิดสิทธิ เช่น เด็กพิการ เด็กยากจน เด็กติดเอดส์ เด็กขาดโอกาสด้วยประการต่าง ๆ เด็กชน กลุ่มน้อย เด็กที่ไม่ได้สัญชาติไทย ที่ผ่านมาส� ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานส� ำรวจพบว่า ประเทศไทยยังมีเด็กตกหล่น (คือยังไม่ได้เข้าเรียน) ๕๓,๕๕๔ คน เด็กออกกลางคันระหว่างภาคเรียน ๑๓,๒๗๓ คน เด็กที่ไม่เรียนต่อในมัธยมศึกษาปีที่ ๑ จ� ำนวน ๖,๙๕๒ คน และเด็กที่ไม่เรียนต่อในมัธยมศึกษา ปีที่ ๔ อีก ๓๑,๘๑๘ คน โดยเกิดจากปัญหาครอบครัวและปัญหาอื่น ๆ รวมถึงปัญหาการขาดโอกาส ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๕๒ ส� ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ส� ำรวจข้อมูลด้านภาษา ของนักเรียน ครู และชุมชน โดยจัดท� ำแบบสอบถามไปที่ส� ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพื้นที่ห่างไกลและ แนวชายแดน รวมทั้งสุ่มถามจากครู และชุมชน ผลส� ำรวจพบว่า นักเรียนไทยใน ๔๕ เขตพื้นที่การศึกษา ในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก มีโรงเรียนมากกว่า ๗๐๐ แห่ง ที่นักเรียนส่วนใหญ่หรือ นักเรียนทั้งโรง พูดภาษาประจ� ำวันแตกต่างจากภาษาไทย มีจ� ำนวนชื่อภาษาในแบบสอบถามมากกว่า ๓๐ ชื่อภาษา บางโรงเรียนมีนักเรียนพูดภาษาเดียวกัน บางโรงเรียนก็มีนักเรียนพูดภาษาต่าง ๆ กันมากกว่า ๓ ภาษาอยู่ร่วมโรงเรียนเดียวกัน การส� ำรวจดังกล่าวยังไม่รวมโรงเรียนชายแดนภาคใต้ ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่ ใช้ภาษามลายูถิ่น ผลส� ำรวจดังกล่าวท� ำให้ทราบว่าภาษาท้องถิ่น (ภาษาแม่/ภาษาที่ ๑/ภาษาครอบครัว) ที่เด็ก ๆ ใช้ เป็นภาษาเดียวกับภาษาที่ชุมชนรอบโรงเรียนใช้ และแบบสอบถามให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ครูในโรงเรียนที่เป็นเด็กชนเผ่าต่าง ๆ เหล่านี้ มักมาจากต่างพื้นที่ อยู่ชั่วคราวก็ย้าย ครูไม่รู้วิธีสอนเด็กที่พูด ต่างภาษา โดยเฉพาะการสอนนักเรียนช่วงชั้นต้น ๆ ครูพูดภาษาแตกต่างจากภาษาที่นักเรียนใช้หรือคุ้นเคย การส� ำรวจข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับผลวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งกล่าวว่าประเทศไทยมีประชากร ซึ่งใช้ภาษาต่าง ๆ กว่า ๗๐ ภาษา และภาษาที่นักเรียนและชุมชนใช้นั้นอยู่ในภาษา ๕ ตระกูลใหญ่ ได้แก่ ภาษาตระกูลไทย ภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก ภาษาตระกูลจีน-ทิเบต ภาษาตระกูลม้ง-เมี่ยน และ ภาษาตระกูลออสโตรเนเชียน นวัตกรรมทางแนวคิด กฎหมายและนโยบายด้านการศึกษาส� ำหรับเด็กทุกคน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของประเทศไทยนั้นก้าวหน้าไม่แพ้ประเทศอื่น ๆ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ และฉบับปรับปรุง มีบทบัญญัติที่เป็นฐานและ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=